สาขาย่อย ของ ตระกูลภาษาอัลไต

ตระกูลภาษาอัลตาอิกนี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิก (Turkic subfamily)

ดูบทความหลักที่: กลุ่มภาษาเตอร์กิก

มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน รวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองราว 200 ล้านคน ใช้พูดในประเทศตุรกี เอเชียกลาง สาธารณรัฐยาคุต สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน สาธารณรัฐตาตาร์สถาน ในประเทศรัสเซีย และ มณฑลซินเจียงอุยกูร์ในประเทศจีน กลุ่มภาษาเตอร์กิกส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40% ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหมด สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิกแบ่งออกได้เป็น

สาขากลุ่มภาษามองโกล (Mongolic subfamily)

ดูบทความหลักที่: กลุ่มภาษามองโกล

มีผู้พูดประมาณ 10 ล้านคน ใช้มากในประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ดินแดนจุงกาเรียในประเทศจีน สาธารณรัฐคัลมืยคียาและสาธารณรัฐบูรยาเทียในประเทศรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาตุงกูซิก (Tungusic subfamily)

ดูบทความหลักที่: กลุ่มภาษาตุงกูซิก

มีผู้พูดประมาณ 80,000 คน ใช้มากในไซบีเรียตะวันออก และแถบแมนจูเรียในประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

สาขาภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่น (Korean-Japonic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 180 ล้านคนในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและหมู่เกาะโอกินาวา แบ่งออกได้ดังนี้

อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย

ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม (Proto-Altaic) เดียวกัน

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลเจียรวนนท์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลล่ำซำ