ชีวิตในปลายพระชนม์ ของ ตรัสน้อย

ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าฟ้าตรัสน้อยทรงดำรงพระชนมชีพต่อไปอย่างไร จดหมายเหตุของชาวฝรั่งเศส ระบุว่า เจ้าฟ้าตรัสน้อยซึ่งเป็นพระมรณภาพในราวปี พ.ศ. 2283 ซึ่งตรงกับช่วงกลางสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก่อนจะเสียกรุงให้พม่า 27 ปี โดยประมาณ[8]

ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2244 เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพร พระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงพระดำริเห็นว่าผู้คนทั้งปวงนิยมยินดีรักใคร่ตรัสน้อยมาก นานไปเบื้องหน้าเจ้าฟ้าตรัสน้อยก็จะได้เป็นใหญ่ จึงทรงพระดำริเป็นความลับให้ชาวที่ออกไปเชิญเสด็จตรัสน้อย โดยอ้างว่ามีพระราชโองการให้เชิญเสด็จเข้าไปบัดนี้ เจ้าฟ้าตรัสน้อยคิดว่าพระราชโองการให้หาจริง จึงเสด็จขึ้นขี่คอชาวที่เข้ามา ชาวที่ก็พาเสด็จเข้ามาถึงพระคลังวิเศษ แล้วก็ประหารเสียด้วยท่อนจันทน์ แล้วจึงเชิญพระศพไปวัดโคกพระยา[9]