ยุคกลางและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ของ ตราแผ่นดินของเยอรมนี

ชาร์เลอมาญโดยอัลเบรชท์ ดือเรอร์ ที่มีเหยี่ยวเยอรมัน และสัญลักษณ์ดอกลิลลีของฝรั่งเศสเหนือพระเศียร

ประวัติของการใช้เหยี่ยวเป็นสัญลักษณ์เริ่มตั้งแต่สมัยแรก จักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิไบแซนไทน์สงวนการใช้รูปเหยี่ยวสำหรับสิ่งที่มีความสำคัญเท่านั้นโดยเฉพาะสำหรับพระเจ้า และ จักรพรรดิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความคงกระพัน ต่อมาเหยี่ยวก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของหลวงในรูปของเหยี่ยวทอง (Golden Eagle) ที่เรียกกันในภาษาเยอรมันว่า “เหยี่ยวเยอรมัน” (Reichsadler) ที่อาจจะใช้มาตั้งแต่รัชสมัยของชาร์เลอมาญ (ค.ศ. 742–ค.ศ. 814) ราวปี ค.ศ. 1200 เหยี่ยวดำบนทุ่งทองมักจะทราบกันว่าเป็นตราอาร์มหลวง

ในปี ค.ศ. 1433 ก็เริ่มมีการใช้เหยี่ยวสองหัวเป็นครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซิจิสมุนด์แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมาเหยี่ยวสองหัวกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิเยอรมัน และเป็นตราอาร์มจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาจักรพรรดิก็ทรงใส่ตราของราชวงศ์ของตนเองบนอกของเหยี่ยว หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1806 รัฐเยอรมันและสัญลักษณ์ของรัฐร่วมก็สิ้นสุดลง

ตราอาร์มของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ตราอาร์มของ
จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3
ในฐานะพระมหากษัตริย์เยอรมนี
ค.ศ. 1446
ตราอาร์มของ
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ในหนังสือ
ตราอาร์มของ
จักรพรรดิโจเซฟที่ 2
ค.ศ. 1765
ตราอาร์มของ
ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1806
ภายใต้จักรพรรดิองค์สุดท้าย
จักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2
(จักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย)

ใกล้เคียง

ตราแผ่นดินของไทย ตราแผ่นดินของแคนาดา ตราแผ่นดินของเยอรมนี ตราแผ่นดินของลาว ตราแผ่นดินของสเปน ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตราแผ่นดินของสวีเดน ตราแผ่นดิน ตราแผ่นดินของมาเลเซีย ตราแผ่นดินของกัมพูชา