ตะพาบม่านลายอินเดีย
ตะพาบม่านลายอินเดีย

ตะพาบม่านลายอินเดีย

ตะพาบม่านลายอินเดีย (อังกฤษ: Indian narrow-headed softshell turtle, Small-headed softshell turtle; ฮินดี: चित्रा इन्डिका; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitra indica) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ตะพาบ (Trionychidae)ตะพาบม่านลายอินเดีย มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับตะพาบม่านลายไทย (C. chitra) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ที่พบในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกัน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1986 นาวาอากาศเอก (พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างละเอียด และพบว่ามีความแตกต่างกันมากทั้งขนาดลำตัว, ลวดลาย และสีสัน โดยใช้การแยกแยะสัดส่วนของกะโหลก และสัดส่วนของกระดองหลัง โดยรวมแล้วตะพาบม่านลายอินเดียมีขนาดเล็กกว่าตะพาบม่านลายไทย และมีสีคล้ำอมเขียวกว่า [3]ตะพาบม่านลายอินเดีย กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักหลายประเทศในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล อาทิ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำสินธุ, แม่น้ำมหานที เป็นต้น เป็นตะพาบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง มีราคาซื้อขายที่สูง ซึ่งปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วในที่เลี้ยง[3]

ใกล้เคียง