ตัวกระตุ้นอันตราย

ตัวกระตุ้นอันตราย (อังกฤษ: noxious stimulus) เป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อจริง ๆ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อได้[1] เป็นสิ่งที่จะต้องมีก่อนที่โนซิเซ็ปชั่น (คือการส่งสัญญาณประสาทสื่อว่า มีตัวกระตุ้นอันตราย) จะเกิดขึ้นได้ และโนซิเซ็ปชั่นก็จะต้องมี ก่อนที่ความเจ็บปวดจะะเกิดขึ้นได้[1]ตัวกระตุ้นอันตรายอาจจะเป็นแบบเชิงกล (เช่นการหนีบ การหยิก หรือการทำเนื้อเยื่อให้ผิดรูป) เชิงเคมี (เช่นการสัมผัสกระทบกรดหรือสารระคายเคืองอย่างอื่น) หรือเชิงอุณหภูมิ (คือมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ ร้อนหรือเย็น)มีความเสียหายของเนื้อเยื่อบางประเภทที่ไม่มีตัวรับความรู้สึกใด ๆ ตรวจจับได้ จึงไม่เป็นเหตุของความเจ็บปวด ดังนั้น ตัวกระตุ้นอันตรายทั้งหมด จึงไม่ใช่เป็นตัวกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของโนซิเซ็ปเตอร์ ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมของโนซิเซ็ปเตอร์จึงเรียกว่า ตัวกระตุ้นโนซิเซ็ปเตอร์ (อังกฤษ: nociceptive stimulus) ซึ่งมีนิยามว่า[2]เป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อจริง ๆ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อได้ เป็นปรากฏการณ์ที่โนซิเซ็ปเตอร์ทำการถ่ายโอน[3]และทำการเข้ารหัส[4][1]

ใกล้เคียง

ตัวกระตุ้น ตัวกระตุ้นให้ทำงาน ตัวกระตุ้นอันตราย ตัวกรองของบลูม ตัวกรองคาลมาน ตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและสมอง ตัวกระดูกอัลนา ตัวกระดูกเรเดียส ตัวกระตุ้นที่เหมาะสม ตัวรับกระแสไฟ