การใช้งาน ของ ตัวยึดกระดูกเชิงกราน

ตัวยึดกระดูกเชิงกรานใช้งานเพื่อลดการไหลของเลือดจากการแตกของกระดูกเชิงกราน[2] และนำมาใช้ในกรณีผู้ป่วยที่แพทย์หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินสงสัยว่ามีการหักของวงเชิงกราน (pelvic ring) เป็นส่วนใหญ่[2] ตัวยึดกระดูกเชิงกรานนั้นแนะนำให้ใช้ในกระดูกเชิงกรานหักแบบแยกกางออกเป็นสองส่วน (open book)[3] และอาจไม่มีประโยชน์นักในรายที่เป็นการแตกของกระดูกเชิงกรานชนิดบีบอัดจากด้านข้าง (lateral compression)[3]

หน่วยแพทย์ฉุกเฉินสามารถใส่ตัวยึดกระดูกเชิงกรานก่ินการขนย้ายผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล หรือโดยแพทย์กับพยาบาลเมื่อมาถึงแผนกฉุกเฉินแล้ว[2] ตัวยึดกระดูกเชิงกรานมีไว้ใช้ในระยะสั้น ไม่ควรค้างไว้ในระยะยาว[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวยึดกระดูกเชิงกราน https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC58386... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC51026... https://doi.org/10.1308%2Frcsann.2017.0159 https://doi.org/10.5811%2Fwestjem.2016.7.30057 https://doi.org/10.1302%2F0301-620X.93B11.27023 https://doi.org/10.1016/j.injury.2008.11.023 https://doi.org/10.1016%2Fj.injury.2008.11.023 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29022794 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27833687 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22058306