การนำไปประยุกต์ใช้งาน ของ ตัวเรียงกระแส

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดต้องใช้ไฟ DC ดังนั้นวงจรเรียงกระแสถูกใช้ในแหล่งจ่ายไฟของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทั้งหมด

การแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแรงดันไฟฟ้าหนึ่ง ไปยังอีกแรงดันไฟฟ้า มีความซับซ้อนมากขึ้น วิธีการหนึ่งของการแปลง DC-to-DC คือขั้นแรก แปลง DC ไปเป็น AC ก่อน(โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์) จากนั้นใช้หม้อแปลงเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า และในที่สุดก็ rectifies กลับไปที่ DC. ความถี่ของไฟ AC ที่ถูกแปลงในขั้นตอนแรกมีค่าหลายสิบกิโลเฮิรตซ์ เพื่อจะสามารถใช้ตัวเหนี่ยวนำมีขนาดเล็กกว่า และ หลีกเลี่ยงการใช้ แกนเหล็กที่หนัก ขนาดใหญ่ และมีราคาแพง

แรงดันขาออกของวงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นที่ใช้ thyristors ควบคุม

วงจรเรียงกระแสยังใช้ในการตรวจหาสัญญาณวิทยุแบบ AM สัญญาณอาจถูกขยายก่อนการตรวจสอบ. ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ต้องใช้ไดโอดที่มีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่ต่ำมาก หรือ ใช้ไดโอดที่ถูก bias ด้วยแรงดันไฟฟ้าที่คงที่. เมื่อใช้ rectifier สำหรับการ demodulation ตัวเก็บประจุและความต้านทานโหลด จะต้องมีการจับคู่อย่างระมัดระวัง เพราะถ้าความจุต่ำเกินไป จะส่งผลให้คลื่นพาหะความถี่สูงผ่านไปออกที่ลำโพง แต่ถ้าสูงเกินไป จะส่งผลให้ตัวเก็บประจุทำงานแค่ชาร์จประจุที่เป็นสัญญาณข้อความนั้น สัญญาณข้อความก็จะไม่ออกลำโพง

วงจรเรียงกระแสจะถูกใช้ในการจ่ายแรงดันที่ polarised สำหรับการเชื่อม ในวงจรดังกล่าว กระแสเอาต์พุตจะต้องถูกควบคุม ซึ่งบางครั้ง ทำได้โดยการแทนที่ไดโอดบางตัวใน rectifier แบบสะพานด้วย thyristors ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นี้ทำงานเหมือนไดโอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่แรงดันเอาต์พุตของมัน สามารถถูกควบคุมโดยการเปิดและปิดด้วยการควบคุมองศาการยิง

Thyristors ถูกนำมาใช้ในระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟ DC จะจ่ายให้หัวรถจักรผ่านสายเหนือศีรษะหรือรางที่สามเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า AC สำหรับการควบคุมอย่างละเอียดในการฉุดมอเตอร์ลาก ตัวอย่างเช่น รถไฟยูโรสตาร์จะใช้มอเตอร์ลากแบบสามเฟส[5]

ใกล้เคียง