ลักษณะ ของ ตารีกีปัส

การแสดงตารีกีปัส มีรูปแบบการแสดงเป็นหมู่ระบำ ซึ่งรูปแบบการแสดงมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

  • การแสดงเป็นคู่ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง หญิงล้วน
  • การแสดงเป็นหมู่ระบำโดยใช้ผู้หญิงแสดงล้วน

เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายฝ่ายหญิง

การแต่งกายฝ่ายหญิงแต่งกายตามแบบที่ได้รับการปรับปรุงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นการแต่งกายของตารีกีปัส เช่น

  • เสื้อบานง
  • โสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ
  • ผ้าสไบ
  • เข็มขัด
  • สร้อยคอ
  • ต่างหู้
  • ดอกซัมเปง
การแต่งกายฝ่ายชาย

การแต่งกายฝ่ายชายแต่งกายตามการแต่งกายของตารีกีปัส เช่น

  • เสื้อตือโล๊ะบลางอ
  • กางเกงขายาว
  • ผ้ายกเงิน ผ้ายกทอง หรือ ผ้าซอแกะ
  • เข็มขัดเป็นแนะ
  • หมวกสีดำ

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีประกอบการแสดงตารีกีปัส ได้แก่ ไวโอลิน แมนโดลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาราคัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องแต่บรรเลงดนตรี มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ซึ่งเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง มี 2 เพลง คือ เพลง "ตาเรียนเนรายัง" ซึ่งเป็นเพลงประกอบการแสดงระบำประมงของชาวมาเลเซีย และเพลง "อินัง ตังลุง" เป็นทำนองเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซีย ผสมผสานระหว่างมลายูกับจีนไทย