การวินิจฉัย ของ ตาเหล่

แพทย์อาจตรวจโดยให้ปิดตาหรือตรวจแบบ Hirschberg test ที่ใช้แสงสะท้อน เพื่อวินิจฉัยและวัดความตาเหล่และผลที่มีต่อสายตานอกจากนั้น การตรวจแบบ Retinal birefringence scanning ยังสามารถใช้ตรวจคัดตาเหล่ในเด็กเล็ก ๆโดยแพทย์จะวินิจฉัยแยกแยะความตาเหล่ออกเป็นแบบต่าง ๆ

ภาวะแฝง

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

ตาเหล่อาจปรากฏอย่างชัดเจน (ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย -tropia) หรืออาจเป็นภาวะแฝง (ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย -phoria) ตาเหล่แบบชัดเจน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า heterotropia (ซึ่งอาจขึ้นต้นด้วยคำอุปสรรค eso-, exo-, hyper-, hypo-, cyclotropia หรือขึ้นด้วยอุปสรรคผสม) จะเกิดเมื่อคนไข้มองที่วัตถุด้วยสองตา โดยไม่ได้ปิดหรือบังตาข้างใดข้างหนึ่งแล้วคนไข้ไม่สามารถปรับตาเพื่อให้เห็นเป็นภาพเดียว (fusion) ได้

ภาวะแฝง หรือที่เรียกว่า heterophoria (ซึ่งอาจขึ้นด้วยคำอุปสรรค eso-, exo-, hyper-, hypo-, cyclophoria หรืออุปสรรคผสม) จะปรากฏต่อเมื่อขัดการเห็นด้วยสองตา เช่นปิดตาข้างหนึ่งคนไข้ประเภทนี้ปกติจะมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ แม้ตาจะมองไม่ตรงเมื่อปล่อยตามสบายตาที่เหล่เป็นบางครั้งบางคราวจะเกิดจากรูปแบบสองอย่างนี้ผสม ที่คนไข้จะสามารถมองเห็นเป็นภาพเดียว แต่บางครั้งหรือบ่อยครั้งจะปรากฏว่าเหล่อย่างชัดเจน

การเริ่มต้น

แพทย์อาจจัดหมู่ตาเหล่ตามเวลาที่เริ่มอาการ คือเป็นแต่กำเนิด เป็นทีหลัง หรือเป็นอาการทุติยภูมิของโรคอื่น ๆทารกจำนวนมากเกิดโดยมีตาเหล่หน่อย ๆ แต่เด็กจะพัฒนาปรับตาเป็นปกติภายใน 6-12 เดือน[29]ประเภทที่เหลือจะเกิดขึ้นทีหลังAccommodative esotropia ซึ่งเป็นการเบนเข้าของตาเกินเนื่องจาก accommodation reflex จะเกิดโดยมากในวัยเด็กต้น ๆ ส่วนตาเหล่ที่เกิดทีหลัง จะเกิดหลังจากการมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้พัฒนาเต็มที่แล้วในผู้ใหญ่ที่ตอนแรกมองเป็นปกติ การเกิดตาเหล่มักจะทำให้เห็นภาพซ้อน โรคที่ทำให้การเห็นเสียหายก็อาจเป็นเหตุให้ตาเหล่ด้วย[30]และก็อาจเกิดจากความบาดเจ็บต่อตาที่เหล่

ส่วน Sensory strabismus เป็นอาการตาเหล่เนื่องจากเสียหรือพิการทางการเห็น แล้วทำให้ตาเหล่ไปทางด้านข้าง ด้านตั้ง แบบบิด (torsional) หรือแบบผสม โดยตาที่เห็นแย่กว่าจะค่อย ๆ เหล่ไปในระยะยาวแม้มักจะเป็นการเหล่ทางด้านข้างมากที่สุดแต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุที่เกิดความเสียหายด้วยคนไข้ที่พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดมีโอกาสตาเหล่เข้า (esotropia) มากที่สุดเทียบกับคนไข้ที่การเห็นพิการทีหลังมักจะตาเหล่ออก (exotropia)[31][32][33]ในแบบสุดโต่งอย่างหนึ่ง ตาที่บอดสิ้นเชิงข้างหนึ่งจะทำให้ตาข้างนั้นอยู่ในตำแหน่งพักตลอด[34]

แม้จะรู้เหตุที่ทำให้ตาเหล่หลายอย่างแล้ว รวมทั้งการบาดเจ็บที่ตาซึ่งเหล่ แต่ก็ยังมีกรณีที่ไม่รู้เหตุโดยเฉพาะที่เป็นตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ[35]

งานศึกษาตามแผนในสหรัฐอเมริกาพบว่า ความชุกของอาการตาเหล่ในผู้ใหญ่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหลังจากอายุ 60 ปีโดยจะถึงจุดสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 8 และความเสี่ยงตาเหล่ตลอดชีวิตในวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ 4%[36]

ข้าง

ตาเหล่สามารถจัดว่าเป็นข้างเดียว (unilateral) ถ้ามีตาข้างเดียวเท่านั้นที่เหล่ หรือเป็นสลับข้าง (alternating) ถ้าตาทั้งสองข้างเหล่การสลับข้างอาจเกิดเองโดยที่คนไข้ก็ไม่รู้ตัวหรืออาจสลับเนื่องจากการตรวจตา[37][ต้องการหน้า]ตาเหล่ข้างเดียวมักจะมาจากการบาดเจ็บต่อตาที่มีปัญหา[31]

ทิศทาง

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

การเหล่ออกข้าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นสองแบบคำอังกฤษที่ขึ้นด้วยอุปสรรค Eso หมายถึงการเหล่เข้าที่ขึ้นด้วย Exo หมายถึงการเหล่ออก

การเหล่ขึ้นลงก็สามารถแบ่งเป็นสองแบบได้เหมือนกันคำอุปสรรค Hyper จะใช้กับตาที่เหล่ขึ้นโดยเทียบกับตาอีกข้าง ในขณะที่ hypo จะใช้กับตาที่เหล่ลงส่วนคำว่า Cyclo หมายถึงตาเหล่บิด คือตาที่เหล่โดยหมุนรอบ ๆ แกนหน้าหลัง ซึ่งมีน้อยมาก[โปรดขยายความ]

การตั้งชื่อ

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

คำอุปสรรคอังกฤษที่แสดงทิศทางจะใช้ประกอบกับคำว่า -tropia และ -phoria เพื่อกำหนดตาเหล่ประเภทต่าง ๆยกตัวอย่างเช่น constant left hypertropia หมายถึงตาข้างซ้ายจะอยู่สูงกว่าตาด้านขวาเสมอส่วนคนไข้ที่มี intermittent right esotropia จะมีตาขวาที่บางครั้งบางคราเหล่ไปทางจมูก แต่ในเวลาที่เหลือจะมองเป็นปกติ คนไข้ที่มี mild exophoria จะดูปกติในสถานการณ์ทั่วไปแต่เมื่อระบบเกิดขัดข้อง ตาที่ปล่อยตามสบายจะเหล่ออกหน่อย ๆ

เรื่องอื่น ๆ

ความตาเหล่ยังสามารถจัดหมู่ดังต่อไปนี้

  • Paretic strabismus เป็นตาเหล่เกิดจากกล้ามเนื้อตาหนึ่ง ๆ หรือหลายมัดอัมพาต
  • Nonparetic strabismus เป็นตาเหล่ที่ไม่ได้เกิดจากความอัมพาตของกล้ามเนื้อตา
  • Comitant/concomitant strabismus เป็นอาการตาเหล่แบบเท่า ๆ กันไม่ว่าจะมองไปที่ตรงไหน
  • Noncomitant/incomitant strabismus เป็นตาที่เหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่จะมองขึ้นลงหรือมองข้าง ๆ

Nonparetic strabismus ปกติจะเป็นแบบเท่า ๆ กันไม่ว่าจะมองไปในที่ใด (concomitant)[38]ตาเหล่ของทารกและเด็กโดยทั่วไปจะเป็นแบบเท่า ๆ กัน[39]ส่วน Paretic strabismus อาจเป็นแบบเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้แบบไม่เท่ากันมักจะเมีเหตุจากตาที่หมุนได้ไม่เต็มที่เนื่องจากปัญหาทางกล้ามเนื้อ เช่น ocular restriction หรือจาก extraocular muscle paresis[39]ตาเหล่แบบไม่เท่ากัน/ตาเหล่เหตุอัมพาตจะไม่สามารถแก้ได้ด้วยแว่นตาปริซึม เพราะจะต้องใช้ปริซึมที่ต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับที่ที่มอง[40]

แบบต่าง ๆ ของตาเหล่ไม่เท่ากันรวมทั้ง Duane syndrome, horizontal gaze palsy, และ congenital fibrosis of the extraocular muscles[41]

ถ้าตาเหล่ออกมากและชัดเจน ก็จะเรียกว่า large-angle (มุมกว้าง) โดยหมายถึงมุมที่เหล่ออกจากเส้นที่ควรมองตาที่เหล่ออกน้อยกว่าเรียกว่า small-angle (มุมแคบ)แต่มุมอาจต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับว่ามองใกล้หรือไกล

ตาเหล่ที่เกิดหลังจากผ่าตัดแก้ไขจะเรียกว่า consecutive strabismus

การวินิจฉัยแยกโรค

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

Pseudostrabismus เป็นอาการตาเหล่เทียมซึ่งปกติเกิดขึ้นในทารกหรือเด็กหัดเดินที่ดั้งจมูกกว้างและแบน แล้วทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้า (esotropia) เนื่องจากเห็นตาขาวทางด้านจมูกน้อยกว่าปกติแต่เมื่ออายุมากขึ้น ดั้งจมูกก็จะแคบลงและหนังคลุมหัวตาก็จะลดลงแล้วทำให้เห็นตาขาวเป็นปกติ

มะเร็งจอตา (Retinoblastoma) ก็อาจเป็นเหตุให้ตาสะท้อนแสงผิดปกติได้ด้วย

การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ในทารกอายุ 8 เดือน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตาเหล่ http://www.allaboutvision.com/conditions/strabismu... http://www.consultantlive.com/display/article/1016... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29577.htm http://www.em-consulte.com/article/138308/alertePM http://emjreviews.com/therapeutic-area/ophthalmolo... http://www.etymonline.com/index.php?term=strabismu... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=378 http://informahealthcare.com/doi/abs/10.3109/00048... http://archopht.jamanetwork.com/article.aspx?artic... http://www.oxforddictionaries.com/definition/engli...