การรักษา ของ ต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy)

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ Thyroidectomy เป็นวิธีการทางศัลยกรรมที่ค่อนข้างพบได้ทั่วไป โดยปกติจะเป็นการผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออก ซึ่งการผ่าตัดนี้มักจะใช้ในการรักษาเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ แต่บางครั้งก็อาจใช้ในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วย เนื่องจากตำแหน่งของต่อมไทรอยด์มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างต่างๆ คือต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) และเส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล่องเสียงและคอหอย จึงต้องระมัดระวังในการผ่าตัดเป็นพิเศษ ผลข้างเคียงของการผ่าตัดอาจทำให้เกิดอาการเสียงแหบ (hoarseness) หรืออาการกลืนลำบาก (dysphagia) เนื่องจากเส้นประสาทในบริเวณต่อมไทรอยด์ได้รับความเสียหายบางส่วน

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิกการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง ซึ่งในปัจจุบันมีความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก แผลเล็ก ซ่อนแผลไว้ได้ เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว แต่ข้อเสียคือ ต้องอาศัลศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญในเรื่องการผ่าตัดผ่านกล้อง ในประเทศไทยมีทำได้ไม่ถึง 20 คน การผ่าตัดผ่านกล้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงแผลเป็นที่คอ โดยจะเปิดแผลเล็กๆที่บริเวณอื่นแทน เช่น รักแร้ หน้าอก ลานหัวนม หลังหู หลังผ่าตัดคนไข้จะไม่มีเป็นแผลเป็นที่คอ แต่จะเป็นแผลเป็นที่อื่นแทน เช่น รักแร้ หน้าอก เป็นต้น โดยขนาดแผลก็มีตั้งแต่ 5mm - 3cm แล้วแต่ชนิดการผ่าตัด (ในประเทศไทยที่แพร่หลาย ก็คือ ผ่าตัดผ่านกล้องผ่านทางรักแร้ และรักแร้-หน้าอก)

เทคนิกล่าสุดของการผ่าตัดไทรอยด์คือ คือ การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องผ่านทางช่องปาก โดยจะเปิดแผลเล็กๆในช่องปาก ขนาด 5mm และ 10mm สอดกล้อง+เครื่องมือเข้าไปผ่าตัด คีบต่อมไทรอยด์ออกมา แผลจะถูกซ่อนไว้ในช่องปากแทน โดยที่หลังผ่าตัดคนไข้ไม่มีแผลเป็นที่ผิวหนังแม้แต่นิดเดียว แผลในปากจะสมานแผลเร็วมาก 2 วันก็ทานได้ตามปกติ และหายเจ็บแผล การผ่าตัดผ่านช่องปากจะเจ็บน้อยกว่าแบบอื่น และในแง่ของความสวยงามจะดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ทั่วโลกในตอนนี้มีทำการผ่าตัดแบบนี้ที่เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน และที่เมืองไทยมีทำที่แรกและที่เดียวที่ กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ

ใกล้เคียง

ต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ ต่อมไพเนียล ต่อมไร้ท่อ ต่อมไทมัส ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ต่อมลูกหมาก ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง ต่อมใต้สมอง ต่อมคาวเปอร์