ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (อังกฤษ: Hashimoto's thyroiditis), ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบลิมโฟซัยต์, โรคฮาชิโมโตะ เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ[1][6] ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ[1] เมื่อเวลาผ่านไปต่อมไทรอยด์อาจมีขนาดโตขึ้นเกิดเป็นคอพอกที่ไม่มีอาการเจ็บปวด[1] ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและมีอาการน้ำหนักเพิ่ม อ่อนเพลีย ท้องผูก ซึมเศร้า และปวดตามตัว[1] เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีต่อมไทรอยด์มักมีขนาดเล็กลง[1] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไทรอยด์[2]เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[4] ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคภูมิต้านตนเองโรคอื่น[1] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน TSH, T4 และออโตแอนติบอดีต่อไทรอยด์[1] โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันกับโรคนี้ในบางระยะ เช่น โรคเกรฟส์ และโรคคอพอกแบบไม่เป็นพิษ[5]การรักษาโดยมาตรฐานคือการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ทดแทน[1][7] ในบางรายที่ไม่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา บางรายอาจต้องรับการรักษาเพื่อลดขนาดของต่อมไทรอยด์[1][8] ผู้ป่วยไม่ควรกินอาหารที่มีปริมาณไอโอดีนมากเกินไป แต่ก็ต้องได้รับไอโอดีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด[5]ตลอดอายุขัยชนชาติเชื้อสายคอเคเซียนจะพบมีผู้ป่วยจากโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตประมาณ 5%[4] ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการที่อายุ 30-50 ปี และพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[1][3] ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ[5] โรคนี้ได้รับการบรรยายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1912 โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ Hakaru Hashimoto[9] ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1957 จึงค้นพบว่าโรคนี้เป็นโรคภูมิต้านตนเอง[10]

ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

อาการ ต่อมไทรอยด์โตชนิดไม่ปวด, น้ำหนักตัวเพิ่ม, ความเหนื่อยล้า, ท้องผูก, อาการซึมเศร้า[1]
สาขาวิชา วิทยาต่อมไร้ท่อ
สาเหตุ พันธุกรรม และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม[4]
ความชุก 5% ที่จุดหนึ่ง[4]
วิธีวินิจฉัย วัดระดับ TSH, T4, แอนติบอดีชนิดแอนติไทยรอยด์[1]
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติครอบครัว, โรคภูมิแพ้ตัวเองแบบอื่น[1]
ภาวะแทรกซ้อน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไทรอยด์[2]
การรักษา เลวอไทรอกซิน, ผ่าตัด[1][5]
ชื่ออื่น Chronic lymphocytic thyroiditis, ไทรอยด์อักเสบเหตุภูมิแพ้ตัวเอง, struma lymphomatosa, โรคฮาชิโมโตะ
การตั้งต้น 30–50 ปี[1][3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคเกรฟส์, ต่อมไทรอยด์โตแบบนอดูลาร์ชนิดไม่เป็นพิษ[5]

ใกล้เคียง

ต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ ต่อมไพเนียล ต่อมไร้ท่อ ต่อมไทมัส ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ต่อมลูกหมาก ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง ต่อมใต้สมอง ต่อมคาวเปอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ http://www.diseasesdatabase.com/ddb5649.htm http://www.emedicine.com/med/topic949.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=245.... http://www.merckmanuals.com/en-ca/home/hormonal-an... http://www.merckmanuals.com/en-ca/professional/end... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23624127 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25390557 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25905412 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26000316 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4426893