ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (อังกฤษ: hypothyroidism) เป็นโรคระบบต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย[3] ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่าง เช่น ทนความหนาวไม่ได้ รู้สึกอ่อนเพลีย ท้องผูก หัวใจเต้นช้า ซึมเศร้า และน้ำหนักเพิ่ม[3] ผู้ป่วยบางรายอาจมีต่อมไทรอยด์โตกว่าปกติ เรียกว่าคอพอก[3] หากหญิงตั้งครรภ์ป่วยจากภาวะนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ทารกมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาล่าช้า หรือเกิดกลุ่มอาการขาดไอโอดีนตั้งแต่กำเนิดได้[4]สาเหตุของภาวะนี้ที่พบบ่อยที่สุดในระดับโลกคือการขาดไอโอดีน[7][8] ในประเทศที่มีการเสริมไอโอดีนเพียงพอสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นโรคไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต[3] สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้น้อยกว่า ได้แก่ การได้รับการรักษาด้วยการกลื่นไอโอดีนกัมมันตรังสีเพื่อทำลายต่อมไทรอยด์ การบาดเจ็บต่อไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมองส่วนหน้า ยาบางชนิด ไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด หรือเคยผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออก[3][9] การวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ ทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน TSH และไทรอกซีน[3]การเสริมไอโอดีนในเกลือสามารถป้องกันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยได้ในหลายๆ พื้นที่[6] สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะนี้แล้วสามารถรักษาได้โดยการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ชดเชยฮอร์โมนไทรอยด์ที่ขาด[3] แพทย์จะปรับขนาดยาตามอาการและระดับของฮอร์โมนทั้ง TSH และไทรอกซีน[3] ยานี้ปลอดภัยใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์[3] การกินอาหารที่มีไอโอดีนเพียงพอเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันโรค แต่หากได้รับไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยได้เช่นกัน[3]ทั่วโลกมีประชากรที่ขาดไอโอดีนอยู่ประมาณหนึ่งพันล้านคน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าในจำนวนนี้ทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเป็นจำนวนเท่าไร[10] ในสหรัฐพบผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยประมาณ 0.3-0.4% ของประชากร[7] นอกจากนี้ยังมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยชนิดไม่ทำให้เกิดอาการ (subclinical hypothyroidism) พบในสหรัฐ 4.3-8.5% ของประชากร[7] ภาวะนี้ผู้ป่วยจะมีฮอร์โมน TSH สูงแต่ไทรอกซีนจะปกติ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[3] มักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี[3] นอกจากพบในมนุษย์แล้วยังพบในสุนัข แมว และม้าด้วย แต่พบได้น้อยมาก[11]

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย

อาการ ทนความหนาวไม่ได้ รู้สึกอ่อนเพลีย ท้องผูก หัวใจเต้นช้า ซึมเศร้า และน้ำหนักเพิ่ม[3]
สาขาวิชา วิทยาต่อมไร้ท่อ
การออกเสียง
ความชุก 0.3–0.4% (สหรัฐอเมริกา)[7]
สาเหตุ Iodine deficiency, Hashimoto's thyroiditis[3]
วิธีวินิจฉัย Blood tests (thyroid-stimulating hormone, thyroxine)[3]
ภาวะแทรกซ้อน หากเป็นขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีสภาพแคระโง่ได้[4]
การรักษา Levothyroxine[3]
ชื่ออื่น Hypothyroidism, underactive thyroid, low thyroid, hypothyreosis
การตั้งต้น อายุ 60 ปี ขึ้นไป[3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Depression, dementia, heart failure, chronic fatigue syndrome[5]
การป้องกัน Salt iodization[6]

ใกล้เคียง

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ภาวะตัวเย็นเกิน ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ภาวะตั้งครรภ์ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะตัวร้อนเกิน ภาวะตามัว ภาวะต้นกำเนิดต่างกัน ภาวะติดเชื้อราที่หู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย http://www.dictionary.com/browse/hypothyroidism http://www.diseasesdatabase.com/ddb6558.htm http://www.emedicine.com/med/topic1145.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=244.... http://www.merckmanuals.com/vet/endocrine_system/t... http://www.niddk.nih.gov/health-information/health... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22291465 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22851492 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22954017 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25825529