การใช้ประโยชน์ ของ ต้นทางเปิด

การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความโปร่งใสและเสรีภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น CAMBIA[13] แม้กระทั่งวิธีวิทยาทางงานวิจัยเองก็สามารถได้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้หลักต้นทางเปิด[14] การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ต้นทางเปิดอีกด้วย

ซอฟต์แวร์

เบลนเดอร์ทำงานอยู่บน Windows 7

ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่รหัสต้นทางของมันสู่สาธารณะ เปิดโอกาสในการคัดลอก, ดัดแปลง และแจกจ่ายรหัสต้นทางซ้ำได้โดยไม่ต้องเสียต่าใช้จ่าย[15] LibreOffice และ GIMP เป็นตัวอย่างของซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด

เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย[16] ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, ลินุกซ์, อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ ลักษณะเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ที่นิยมได้ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และ สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการประหยัดงบประมาณจากการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ต้นทางเปิด http://standishgroup.com/newsroom/open_source.php https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_i... http://www.business-standard.com/india/news/sreela... https://web.archive.org/web/20121101235609/http://... http://www.cambia.org/daisy/cambia/470.html https://web.archive.org/web/20060423094434/http://... http://www.opensource.org/advocacy/faq.html https://doi.org/10.1007%2Fs10668-012-9337-9 https://doi.org/10.1016%2FS0048-7333(02)00095-1 https://doi.org/10.1089%2Fsus.2012.9944