ประวัติ ของ ทรงนักเรียน

บทความว่าด้วยเรื่องกฎทรงผม ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับ 2 พฤศจิกายน 2550 มีคำตอบสรุปความได้ว่า ประเทศไทยรับทรงผมทรงนักเรียนทั้งเครื่องแบบต่าง ๆ จากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงสงครามนั้นเกิดเหาระบาดมาก ประชาชนจึงนิยมตัดผมสั้นกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2515) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 [1] ในเรื่องเกี่ยวกับทรงผมที่ ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน กฎกระทรวงฉบับที่ 1 ระบุว่า

  1. นักเรียนชายไว้ผมยาว โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดหรือเครา
  2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย

กฎกระทรวงฉบับที่ 2 แก้ไขเป็น

  1. นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผมหรือไว้หนวด ไว้เครา
  2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย

ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ จึงอาจมีระเบียบในเรื่องทรงผมที่แตกต่างกันได้ในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่นักเรียนชายมักจะให้ตัดผมสั้นเกรียน และนักเรียนหญิงมักจะให้ตัดผมสั้นในช่วงติ่งหูถึงปกเสื้อนักเรียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทรงนักเรียน http://www.oknation.net/blog/print.php?id=165611 http://www.moe.go.th/websm/2013/jan/17012556_1.jpg http://www.moe.go.th/websm/2013/jan/17012556_2.jpg http://school.obec.go.th/permit/law/rab19.pdf http://edltv.vec.go.th/courses/12/04020008.pdf http://edltv.vec.go.th/courses/12/04020009.pdf http://edltv.vec.go.th/index.php?option=com_edl&ta... http://edltv.vec.go.th/index.php?option=com_edl&ta... http://edltv.vec.go.th/index.php?option=com_edl&ta... http://edltv.vec.go.th/index.php?option=com_edl&ta...