การตอบรับ ของ ทรงอย่างแบด

"ทรงอย่างแบด" ได้รับความนิยมอย่างมากในวัยเด็ก โดยหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เพลงเกิดกระแสในเด็กได้ มีการวิเคราะห์ว่ามาจากติ๊กต็อก สื่อสังคมที่เด็กมักใช้ ประกอบกับเนื้อร้องที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน นักการตลาดยังชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่คล้ายเคียงกันที่สร้างความประสบสำเร็จให้แก่ "เบบีชาร์ค (Baby Shark)" ที่ได้รับความนิยมในวัยเด็กเช่นกัน[9]

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ให้คำขวัญวันเด็กแห่งชาติในปี 2566 โดยล้อจากเนื้อร้องหลักของเพลงที่ว่า "ทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อย เธอไม่อินกับผู้ชายแบดบอย" เป็น "เรียนอย่าแบด แซดอย่าบ่อย สู้อย่าถอย ค่อย ๆ สร้างพลังใจ"[10] ในขณะที่วงเปเปอร์เพลนส์เองได้ให้คำขวัญวันเด็กแห่งชาติในปีเดียวกันโดยมีการอ้างถึงเพลงนี้ไว้ว่า "สร้างสรรค์ความคิด ⁣ผูกมิตรซื่อตรง⁣ ก้าวอย่างมั่นคง⁣ ฟังทรงอย่างแบด"[11]

ในวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2566 เปเปอร์เพลนส์ได้ขึ้นแสดงที่ซาฟารีเวิลด์[12] โดยมีผู้เข้าชมเต็มความจุ 6,500 คน[13] และได้รับการตอบรับอย่างดีโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก[14][15] โดยก่อนหน้านี้ ผลสำรวจโซเชียลมีเดียของไวซ์ไซท์ประเทศไทย พบว่าเพลงทรงอย่างแบดได้รับการกล่าวถึงในหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวันเด็กแห่งชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวน 4.32 ล้านเอ็นเกจเมนต์[16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทรงอย่างแบด https://brandinside.asia/bad-boy-popular-among-kid... https://thematter.co/social/phonetics-in-bad-boy-s... https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/entertain... https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/ch... https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000... https://www.pptvhd36.com/gallery/%E0%B8%9A%E0%B8%B... https://www.sanook.com/campus/1413211/ https://www.sanook.com/news/8738174/ https://www.tnnthailand.com/news/entertainment/135... https://www.tnnthailand.com/news/entertainment/136...