ทรัพยสิทธิ ของ ทรัพย์สิน

ดูบทความหลักที่ ทรัพยสิทธิ

ทรัพยสิทธิ (อังกฤษ: real right; ละติน: jus in rem) คือ สิทธิทางทรัพย์ กล่าวคือ สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย[1] ประกอบด้วย

  1. กรรมสิทธิ์ (อังกฤษ: ownership) คือ สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย[1]
  2. ครอบครอง (อังกฤษ: possession) คือ การที่บุคคลที่เข้ายึดถือทรัพย์สิ่งหนึ่งเพื่อตนเอง ทำให้ได้ไปซึ่ง "สิทธิครอบครอง" (อังกฤษ: possessory right)[17] ไม่ถึงกับเป็นกรรมสิทธิ์แต่อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ได้[18]
  3. ภาระจำยอม (อังกฤษ: servitude) คือ ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น อสังหาริมทรัพย์เช่นนั้นเรียก "ภารยทรัพย์" (อังกฤษ: servient estate) เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งเรียก "สามยทรัพย์" (อังกฤษ: dominant estate)[1]
  4. สิทธิอาศัย (อังกฤษ: right of habitation) คือ สิทธิที่บุคคลจะอาศัยในโรงเรือนของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า[19]
  5. สิทธิเหนือพื้นดิน (อังกฤษ: right of superficies) คือ สิทธิในการเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนที่ดินหรือใต้ดินในที่ดินของผู้อื่น[20]
  6. สิทธิเก็บกิน (อังกฤษ: usufruct) คือ สิทธิที่บุคคลสามารถครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น[21]
  7. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (อังกฤษ: charge on immovable) คือ การที่อสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในเหตุอันยังให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือได้ใช้และถือประโยชน์แห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามที่ระบุกันไว้[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทรัพย์สิน http://www2.publicationsduquebec.gouv.qc.ca/dynami... http://www.samuiforsale.com/Civil_Code_text_Englis... http://www.samuiforsale.com/Civil_Code_text_Englis... http://www.thecorpusjuris.com/laws/statutes/republ... http://www.gesetze-im-internet.de/englisch_bgb/ http://civil.udg.es/normacivil/ http://civil.udg.es/normacivil/estatal/CC/2T1.htm http://www.cas.go.jp/jp/seisaku/hourei/data/CC_2.p... http://www.japaneselawtranslation.go.jp/law/detail... http://www.napoleon-series.org/research/government...