ผลของการเป็นอุปกรณ์ ของ ทรัพย์อุปกรณ์

"อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
ป.พ.พ. ม.147 ว.2 และ ว.3

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ประธาน เว้นแต่มีการกำหนดกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ซื้อขายรถยนต์กัน ผู้ขายจะไม่ส่งมอบยางอะไหล่กับแม่แรงรถหาได้ไม่ เว้นแต่ผู้ซื้อผู้ขายจะตกลงกันว่าไม่ต้องส่งมอบ[6] ทั้งนี้ เพราะอุปกรณ์เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เจ้าของทรัพย์ประธานได้ตกลงโอนอุปกรณ์ของทรัพย์ประธานด้วยในเวลาเดียวกัน[12]

อนึ่ง อุปกรณ์ แม้แยกจากทรัพย์ประธานเป็นการชั่วคราว ก็ไม่ทำให้ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ประธานนั้น เช่น นาย ก มีรถยนต์ใช้มานานหลายสิบปี โดยมีแม่แรงเป็นอุปกรณ์ของรถยนต์นั้นเสมอมา, เมื่อนาย ก ซื้อรถยนต์คันใหม่ ได้ย้ายแม่แรงจากรถยนต์คันเก่ามาใช้สอยกับรถยนต์คันใหม่, ครั้นเมื่อนาย ก ขายรถยนต์คันเก่าให้แก่นาย ข เขาต้องส่งมอบแม่แรงประจำรถคันเก่าให้ด้วย เว้นแต่ผู้ซื้อผู้ขายจะตกลงกันว่าไม่ต้องส่งมอบ[11]

มีข้อสังเกตว่า อุปกรณ์นั้นไม่มีการรวมสภาพเข้ากับทรัพย์ประธานจนแยกกันไม่ออกเช่นเดียวกับส่วนควบ อุปกรณ์นั้นสามารถแยกออกจากทรัพย์ประธานได้โดยไม่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ทั้งสอง[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทรัพย์อุปกรณ์ http://www.samuiforsale.com/Civil_Code_text_Englis... http://bundesrecht.juris.de/englisch_bgb/index.htm... http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/ http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/section/sec... http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/section/sec... http://www.krisdika.go.th/wps/portal/general http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/se...