รูปแบบ ของ ทักษิณคังโคตรี

ทักษิณคังโคตรีเป็นสถานีไม่มีคนประจำการ (unmanned station) สร้างขึ้นโดยใช้วัสดุจากอินเดีย และใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สถานีติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบเพื่อใช้บันทึกข้อมูลที่วิจัยได้[6] และสร้างขึ้นโดยตั้งใจให้เป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรบนแอนตาร์กติกา ภายในยังมีจุดสื่อสารอินมาร์แซต และสถานีวิทยุสมัครเล่น[1]

สถานีแบ่งออกเป็นสองส่วน บล็อกเอ และ บี โดยบล็อกเอมีตัวสร้างกระแสไฟฟ้า, เชื้อเพลิง และที่สำหรับทำงานก่อสร้าง ซ่อมแซม และประดิษฐ์ ส่วนบล็อกบีมีส่วนห้องทดลอง ห้องวิทยุสื่อสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ[7]

ในสถานียังมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติที่บันทึกรายงานผลไว้ นอกจากนี้สถานียังถูกใช้ทดลองเกี่ยวกับคลื่นวิทยุในแอนตาร์กติกา[6] การใช้งานอื่น ๆ ของสถานีประกอบด้วยใช้เพื่อศึกษาวิทยามหาสมุทรเชิงกายภาพ, เคมีแหล่งน้ำจืด, ชีววิทยาแอนตาร์กติกา, ธรณีวิทยา, วิทยาธารน้ำแข็ง และ สนามพลังแม่เหล็กโลก[6]

ในปี 1984 อินเดียได้เปิดตัวสถานีไปรษณีย์อินเดียแห่งแรกบนแอนตาร์กติกาที่ทักษิณคังโคตรี โดยมีนักอุตุนิยมวิทยา จี. สุธกร เรา (G. Sudhakar Rao) เป็นนายไปรษณีย์คนแรกของอินเดียบนแอนตาร์กติกาเมื่อปี 1988[8][9][10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทักษิณคังโคตรี http://www.thehindu.com/features/kids/lab-on-ice/a... http://www.thehindu.com/todays-paper/tp-national/t... http://uli.nli.org.il/F/?func=find-b&local_base=NL... http://www.aame.in/2010/08/dakshin-gangotri-statio... http://www.ncaor.gov.in/ http://www.ncaor.gov.in/antarcticas http://dod.nic.in/ann83-84.pdf http://dod.nic.in/ann84-85.pdf http://pib.nic.in/newsite/erelcontent.aspx?relid=6... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...