แผนการก่อสร้าง ของ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย

ในสมัยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นายธานินทร์ สมบูรณ์ เป็นอธิบดีกรมทางหลวง และนายณรงค์ เขียดเดช เป็นผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุมร่วมกันเพื่อปรับปรุงความซ้ำซ้อนของเส้นทาง และเน้นย้ำถึงภาระกิจว่า "มอเตอร์เวย์เป็นการก่อสร้างทางเชื่อมโยงระหว่างเมือง ส่วนระบบทางด่วนเป็นการแก้ปัญหาการจราจรในเขตเมืองเป็นหลัก" โดยแผนการก่อสร้าง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ของกรมทางหลวง มีดังนี้

  • แผน 10 ปีแรก (พ.ศ. 2560–2569) มี 16 สายทาง รวม 3,120 กิโลเมตร เงินลงทุน 1.24 ล้านล้านบาท ได้แก่
  1. M5 บางปะอิน–เชียงราย (เร่งช่วงรังสิต–บางปะอิน)
  2. M6 บางปะอิน–หนองคาย (เร่งช่วงนครราชสีมา–หนองคาย)
  3. M7 กรุงเทพฯ–บ้านฉาง (กำลังก่อสร้างช่วงมาบตะพุด–บ้านฉาง)
  4. M8 นครปฐม–นราธิวาส (เร่งช่วงนครปฐม–ชะอำ–ชุมพร)
  5. M9 วงแหวนรอบนอกรอบที่ 2 (เร่งช่วงด้านตะวันตกโดยเป็นโครงการปรับปรุงให้มีทางเข้าออก)
  6. M51 เชียงใหม่–ลำปาง
  7. M61 ชลบุรี–นครราชสีมา (เร่งช่วงท่าเรือแหลมฉบัง–ปราจีนบุรี)
  8. M62 วงแหวนรอบนอกรอบที่ 2 ด้านตะวันออก–สระบุรี
  9. M71 วงแหวนรอบนอกตะวันออก–สระแก้ว
  10. M72 ชลบุรี–ตราด
  11. M81 บางใหญ่–กาญจนบุรี (เร่งช่วงกาญจนบุรี–บ้านพุน้ำร้อน)
  12. M82 วงแหวนรอบนอกตะวันตกรอบที่ 2–ปากท่อ (เร่งช่วงด้านบ้านแพ้ว–ปากท่อ)
  13. M83 สุราษฎร์ธานี–ภูเก็ต
  14. M84 สงขลา–ด่านสะเดา
  15. M91 วงแหวนรอบที่ 3
  16. M92 ชลบุรี–นครปฐม
  • แผน 10 ปีถัดไป (พ.ศ. 2570–2579) เงินลงทุน 8.7 แสนล้านบาท ได้แก่
  1. M2 ตาก–มุกดาหาร
  2. M3 สุรินทร์–บึงกาฬ
  3. M4 นครสวรรค์–อุบลราชธานี
  4. M52 สุพรรณบุรี–ชัยนาท
  5. M53 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 2 ด้านตะวันตก–บางปะหัน

ใกล้เคียง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทางหลวงในประเทศไทย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย ทางหลวงสายเอเชีย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81