ประวัติ ของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข_42

ก่อนที่จะมีการกำหนดหมายเลขทางหลวง ถนนในช่วงปัตตานี-นราธิวาสมีชื่อว่า ทางหลวงแผ่นดินสายปัตตานี–นราธิวาส ต่อมาได้รับการขนานนามว่า ถนนรามโกมุท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงปริญญาโยควิบูลย์ (ชม-อุบล รามโกมุท) นายช่างควบคุมการสร้าง[4]

ในสมัยก่อนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ในช่วงบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ถึงบ้านดอนยาง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางระหว่างจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดปัตตานี แต่เมื่อมีการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ขึ้น ทำให้รถที่สัญจรไปมาได้หันไปใช้เส้นทางนี้แทน เนื่องจากช่วยย่นเวลาและระยะทางได้ดีกว่า และยังเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร ขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ช่วงคลองแงะ–ดอนยาง เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 เคยมีจุดสิ้นสุดอยู่ที่ตัวเมืองนราธิวาส มีระยะทางในตอนนั้นประมาณ 198 กิโลเมตร ต่อมาได้มีการรวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4084 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4057 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายนี้ด้วย เพื่อเชื่อมต่อกับจุดผ่านแดนที่สุไหงโก-ลก

ใกล้เคียง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทางหลวงในประเทศไทย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย ทางหลวงสายเอเชีย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81