ก่อนการรุกรานของจีน ของ ทิเบตภายใต้การปกครองของจีน

สถานภาพของทิเบต

อาณาเขตของทิเบตส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยพื้นที่ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ประชากรของทิเบต มีมากกว่า 6 ล้านคน ประชากรเหล่านี้มีหลากหลายเชื้อชาติ ต่างก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีภูมิปัญญาและมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง รัฐบาลของทิเบตมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ในเมืองลาซา (Lhasa) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของทิเบต รัฐบาลทั้งหมดประกอบด้วยผู้นำของรัฐได้แก่ องค์ทะไลลามะผู้ศักดิ์สิทธิ์ คณะรัฐมนตรี (The Kashag) กลุ่มสมัชชาแห่งชาติ (The Tsongdu) และการปกครองแบบรวมศูนย์โดยมีการบริหารอาณานิคมของทิเบต

ทิเบตมีระบบกฎหมายเป็นของตนเอง มีระบบทหาร ระบบไปรษณีย์ ระบบเงินตรา นอกจากนั้นแล้ว ยังมีระบบการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศอีกด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทิเบต ถูกจับตามองที่ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ทิเบตได้รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทางการทูต เศรษฐกิจและวัฒนธรรมกับประเทศในบริเวณใกล้เคียงได้แก่ เนปาล ภูฏาน สิกขิม มองโกเลีย จีน อินเดีย และในปริมณฑลที่เกี่ยวโยงกับประเทศรัสเซียและญี่ปุ่นนโยบายการต่างประเทศ ซึ่งเป็นอิสระ ของทิเบต ได้แสดงพลังทางการเมืองอย่างชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่แสดงความเป็นกลางทั้ง ๆที่ได้รับแรงกดดันอย่างมากจากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่ต้องการนำเข้าอุปกรณ์ทางทหารผ่านทางทิเบตไปสู่จีน เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นได้ปิดกั้นจุดยุทธศาสตร์บนถนนในพม่า ทิเบตตัดสินใจอย่างรวดเร็วที่ประกาศว่าจะทำตัวเป็นกลาง ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงจำเป็นต้องเคารพในการตัดสินใจครั้งนี้

ทิเบตและอินเดีย

ความสัมพันธ์ของทิเบตที่มีต่ออินเดีย โดยตลอดมาในประวัติศาสตร์ เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และเป็นมิตรต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธจากอินเดียได้ไปเผยแผ่ที่ทิเบตในศตวรรษที่ 7 ตั้งแต่นั้นมา ประชาชนทิเบต ก็จะมองอินเดียเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และด้านปัญญา หนังสือของชาวทิเบตโบราณหลายเล่มได้อ้างถึงอินเดียว่าเป็น Arya Bhumi ซึ่งหมายถึงผืนแผ่นดินแห่งความสูงส่ง การพูดถึงความสัมพันธ์ที่ทิเบตมีต่ออินเดียนั้น Dr. Ram Manohar Lohia ได้พูดไว้ว่า "ทิเบตมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับอินเดียมากกว่าจีน เป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของการใช้ภาษา การค้าขายและวัฒนธรรม ไม่ใช่ความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์"

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ทิเบตได้ทำหน้าที่เป็น "ประเทศกันชน" ซึ่งมีประสิทธิภาพระหว่างอินเดียกับจีน แต่ทั้งหมดนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในปี ค.ศ. 1950 เมื่อเมืองชามโด ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตทิเบตตะวันออกได้ตกเป็นของจีนนั้น กงสุลอินเดียในเมืองลาซา หรือเมืองหลวงของทิเบตได้ส่งสารด่วนไปที่กรุงนิวเดลลี ซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะพยากรณ์ไว้ว่า "อาณาเขตเทือกเขาหิมาลัยได้ถูกทำให้สิ้นไปแล้ว จีนได้บุกรุกทิเบต" ความหมายของเขาคือ เขตพรมแดนทางเหนือของอินเดีย จะไม่ปลอดภัยจากการบุกรุกจากภายนอกประเทศ อีกต่อไปแล้ว ในการอภิปรายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 นั้น Acharya Kriplani ได้กล่าวไว้ว่า "เรารู้สึกเป็นห่วงเป็นใยอย่างสุดซึ้ง เพราะเหตุว่าจีนได้ทำลายประเทศกันชนลงไปแล้ว และในการเมืองระดับชาติ ถือว่า เมื่อประเทศที่เป็นกันชน ได้ถูกทำลายโดยประเทศมหาอำนาจหนึ่ง ประเทศมหาอำนาจนั้น ก็จะถูกมองว่า ได้ประกาศตนเป็นศัตรูต่อต้านประเทศเพื่อนบ้าน"

อินเดียเคยให้การยอมรับแก่จีนในปี ค.ศ. 1949 แต่ในปี ค.ศ. 1954 ในขณะที่กำลังถกปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลง Panchsheel กับจีนในสภา Dr.B.R.Ambedkar ปรารภว่าอินเดียน่าจะให้การยอมรับแก่ทิเบตมากกว่าที่จะไปให้กับจีน ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วก็จะไม่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดนของจีน - อินเดียเป็นแน่