ระบบป้องกันตนเอง ของ ที-84

เกราะหลักของรถถังOplot M เป็นเกราะหลายชั้น (Laminated Armor)เกราะพื้นฐานทั้งป้อมปืนและตัวรถทำจากเหล็กกล้าผ่านกระบวนการหลอมใหม่ด้วยสแล็ก (Electro-slag Remelting)ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าเหล็กกล้าปกติถึง10-15%[14] เสริมทับหลายชั้นด้วยเซรามิค อารามิดไฟเบอร์ คอมโพสิต ซึ่งเป็นความลับ และยังมีการเสริมเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด (Explosive Reactive Armor)

แผ่นเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด (ERA) ประกอบด้วย

โมดูลและแผ่นชายน้ำที่ติดเอาไว้ที่ตัวรถ เช่นเดียวกับชุดเกราะที่นำมาติดเอาไว้ด้านนอกของป้อมปืนตอนหน้าและด้านข้าง และด้านบนของป้อมปืน เกราะปฏิกิริยาแบบ Duplet [15] ติดตั้งเอาไว้บริเวณตำแหน่งต่างๆ เพื่อป้องกันหัวรบแบบดินโพรง(Shape Charge) จากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT) ทุกแบบ และกระสุนเจาะเกราะทรงตัวด้วยครีบหางสลัดครอบทิ้งเอง (APFSDS) เกราะปฏิกิริยาแบบ Duplet ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเกราะ จะไม่ระเบิดเมื่อถูกยิงด้วยกระสุน 12.7 มม., 30 มม.เจาะเกราะและสะเก็ดของกระสุนขนาดต่างๆ เกราะ Duplet จะถูกเก็บเอาไว้ในกล่องเก็บ หรือไว้ในตัวรถถังเพื่อป้องกันแสงอาทิตย์ หรืออุณหภูมิที่แตกต่างกันมากตั้งแต่ -50 ถึง+55 องศาเซลเซียส และยังสามารถเก็บรักษาเอาไว้ในสภาพความชื้นสูงถึง 100 % ที่อุณหภูมิ +35 องศาเซลเซียส เกราะ Duplet นี้สามารถรักษาคุณสมบัติเหล่านี้เอาไว้ได้นาน 10 ปี

ระบบป้องกันแบบแอคทีฟ Varta

ระบบป้องกันแบบVarta ทำหน้าที่ดังนี้

  • ตรวจจับแสงเลเซอร์ที่ตกกระทบตัวรถถัง และแจ้งตำแหน่งที่แสงเลเซอร์ยิงมาเพื่อใช้มาตรการต่อต้านหรือทำการต่อตีไปยังจุดนั้น
  • ยิงระเบิดควันพรางสายตา,อินฟราเรดและเลเซอร์
  • ใช้ระบบอินฟราเรดก่อกวนระบบนำวิถี สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีที่ใช้ระบบSACLOS-Wire Guided (เช่นBill-2 ,TOW, Metis, HOT, ERYX,MILAN ) หรือ Radio Guided (เช่น Wireless TOW ,9K112 Kobra )

ส่วนประกอบของระบบVarta

ส่วนประกอบของระบบVarta มีดังนี้

เซนเซอร์ตรวจจับเลเซอร์ (Laser Warning Receiver)[16]ประกอบไปด้วยเซนเซอร์2แบบ ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

  • เซนเซอร์ตรวจจับเบื้องต้น มีมุมตรวจจับทางทิศ 135องศา ทางระดับ +25/-5 องศา
  • เซนเซอร์ตรวจจับแบบละเอียด มีมุมตรวจจับทางทิศ 45องศา จากกระบอกปืน หรือ 90องศาด้านหน้า ทางระดับ +25/-5องศา
  • รวมทั้งระบบ ครอบคลุม360องศารอบตัวรถ
  • สามารถทำงานได้หลังจากเปิดระบบภายใน20วินาที (**ระบบTSHU-1-1/11 ของระบบShtora-1)
  • ความไวในการตรวจจับ0.15วินาที
  • สามารถตรวจจับเลเซอร์จากระบบเลเซอร์วัดระยะในศูนย์เล็งTPD-K1(ศูนย์เล็งหลักของT-72)ได้จากระยะไกลสุด 10,000เมตร

ระบบท่อยิงระเบิดควัน และระเบิดควันแบบGD-1[17][18]

คุณสมบัติระบบท่อยิงระเบิดควัน (มีต้นแบบจากTucha 902Bของโซเวียตและรัสเซีย ชื่อยูเครนยังไม่มีข้อมูล)

  • จำนวนท่อยิง: 12 ท่อยิง (ติดตั้งด้านข้างของป้อมปืน ชุดละละ6ท่อยิง)
  • ความกว้างปากลำกล้อง: 81 มิลลิเมตร
  • มุมยิงทางทิศ : 45องศา ในแต่ละชุด หรือ 90องศาด้านหน้า
  • ระยะเวลาตอบสนองของระบบ : 0.5วินาที (ในโหมดอัตโนมัติ)

โหมดการทำงาน (อ้างอิงจากระบบShtora-1)

  • อัตโนมัติ (หันป้อมปืนไปยังทิศที่ตรวจพบเลเซอร์ และ ยิงระเบิดควันโดยอัตโนมัติ ตามจำนวนที่ตั้งไว้ ตั้งแต่ 1-3ลูกต่อชุดยิง)
  • กึ่งอัตโนมัติ (หันป้อมปืนไปยังตำแหน่งที่ตรวจพบเลเซอร์โดยอัตโนมัติ แต่ยิงระเบิดควันตามคำสั่งของผู้ใช้)
  • Manual (ยิงระเบิดควันตามคำสั่งผู้ใช้ โดยผู้ใช้กำหนดตำแหน่งที่ต้องการยิงเอง)
  • ยิงทั้งหมด (ยิงระเบิดควันทั้งหมด 12ลูก ในกรณีฉุกเฉิน)
  • ควบคุม และ รีเซ็ท (สำหรับดูแลระบบ)

คุณสมบัติของระเบิดควัน GD-1[19]

  • แบบ: Multi-Spectral (อำพรางทางสายตา ,ก่อกวนเลเซอร์ และก่อกวนระบบตรวจจับความร้อน)
  • ระยะยิงไกลสุด: ไม่น้อยกว่า 50เมตร/ ความสูงสูงสุด : ไม่เกิน 10ม.
  • ระยะเวลาการแตกของระเบิดหลังจากยิงออกไป : ไม่เกิน 1วินาที
  • ระยะเวลาการคงอยู่ของม่านควัน : ไม่น้อยกว่า 60วินาที

ระบบไฟฉายอินฟราเรดก่อกวนระบบนำถี OTSHU-1-7 (ชื่อจากระบบShtora-1 ชื่อยูเครนยังไม่มีข้อมูล) [20] เป็นระบบป้องกันอาวุธนำวิถีที่ใช้หลักการSACLOS (Semi-Automatic Command to Line-Of-Sight) ผ่านเส้นลวด (Wire Guided)หรือผ่านระบบวิทยุ (Radio Guided) หลักการโดยสังเขปไฟฉายนี้สามารถกำเนิดแหล่งอินฟราเรดขนาดใหญ่พอๆกับแสงแฟลร์ท้ายลูกจรวดของจรวดนำวิถีด้วยเส้นลวด หรือ คอมมานด์ลิงก์(เช่น TOW,MILAN,HOT,ERYX,BILL-2 ) ระบบการนำวิถีแบบนี้จะใช้แสงแฟลร์ท้ายลูกจรวดเป็นจุดอ้างอิง ระหว่างตัวจรวดกับเป้า ระบบไฟฉายนี้จะไปสร้างสัญญาณลวง ทำให้ระบบควบคุมจรวดสับสน จนทำให้จรวดออกจากทิศทางที่ควรจะเป็น

ข้อมูลทางเทคนิค (ระบบOTSHU-1-7 ของระบบShtora-1)

  • ประเภท : ไฟฉายอินฟราเรด
  • มุมการทำงาน :ทางทิศ -20/+20 องศา จากกระบอกปืน //ทางระดับ +2/-2 องศา

โหมดการทำงาน (อ้างจากระบบShtora-1) :

  • ไฟฉายอินฟราเรด : สำหรับระบบกล้องกลางคืนพลขับ โดยจะมีการถอดเลนส์กระจายแสงหน้าไฟฉาย แล้วติดตั้งฟิลเตอร์IR หน้าไฟฉายแทน และปรับให้ไฟฉายขนานกับปืน (คาดว่ารถถังOplot Mคงไม่ใช้โหมดนี้แล้ว)
  • ก่อกวนระบบนำวิถี : สำหรับโหมดนี้ พลประจำรถจะติดตั้งฟิลเตอร์สีแดงเข้ากับตัวไฟฉาย หลังจากนั้นจะติดตั้งเลนส์กระจายแสง แล้วปรับตัวไฟฉายในมุมที่จะให้การป้องกันมากที่สุด

ระบบVarta ช่วยเพิ่มความอยู่รอดให้กับรถถังOplotดังนี้(ข้อมูลของระบบShtora-1)[21]

  • โชคในการยิงไม่ถูกของอวป.และระเบิดที่นำวิถีด้วยระบบนำวิถี ATLIS,TADS,Pave Spike : 0.85
  • โชคในการยิงไม่ถูกของอวป.นำวิถีด้วยเลเซอร์แบบAGM-65E, Hellfire : 0.8
  • โชคในการยิงไม่ถูกของลูกปืนใหญ่นำวิถีด้วยเลเซอร์แบบCopperhead : 0.8
  • โชคในการยิงไม่ถูกของอวป.นำวิถีด้วยโทรทัศน์ แบบAGM-65A/B : 0.54
  • โชคในการยิงไม่ถูกของอวป.นำวิถีด้วยเส้นลวด เช่นMILAN ,HOT : 0.6
  • เพิ่มอัตราการป้องกันตัวจากระบบวัดระยะด้วยเลเซอร์ : 1.3-3 เท่า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ที-84 http://www.armyrecognition.com/index.php?option=co... http://lreri.tripod.com/Presentation_SE_LRERI.pdf http://www.kotsch88.de/f_9k119.htm http://www.kotsch88.de/f_tpn-4.htm http://www.globalsecurity.org/military/world/ukrai... http://btvt.narod.ru/4/shtora1/shtora1.htm http://btvt.narod.ru/4/t84vst90skr2.htm http://www.npoelm.ru/production/sproduction/shtora... http://photopribor.ck.ua/en/products/defense/btt/p... http://photopribor.ck.ua/en/products/defense/equip...