ระบบเครื่องควบคุมการยิง ของ ที-84

ประกอบไปด้วย กล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M ของพลยิง, กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 ,กล้องเล็งและตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6 , ระบบควบคุมการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ 1ETs 29M1, คอมพิวเตอร์คำนวณ ขีปนวิธีแบบ TIUS-VM พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ป้อนข้อมูล, อุปกรณ์รักษาการทรงตัวของอาวุธแบบ 2E42M และอื่นๆ

เครื่องคำนวณขีปนวิธีของรถถังแบบ TIUS-VM[5]

ใช้ในการคำนวณแก้ค่าขีปนวิธีของกระสุนปืนใหญ่รถถัง โดย คอมพิวเตอร์แบบ TIUS-VM จะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากระบบเซ็นเซอร์ที่วัดค่าได้ เช่น ความเร็วรถถัง, ความเร็วเชิงมุมของเป้าหมาย, อาการเอียงของแกนลำกล้องปืนใหญ่, ความเร็วของลมพัดขวาง, ระยะเป้าหมาย และมุมภาคของเป้าหมาย นอกจากนี้ข้อมูลอื่นๆ ก็จะถูกนำเข้าด้วยมือ เช่น อุณหภูมิโดยรอบ, อุณหภูมิดินส่งกระสุน, อาการสึกของลำกล้องปืนใหญ่ และความดันของอากาศโดยรอบ เป็นต้น นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังทำการคำนวณเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระสุนแบบ ดินระเบิดแรงสูงแบบมีสะเก็ด ( HE-FRAG ) ให้ระเบิดเหนือเป้าหมายได้อีกด้วย ระบบควบคุมการยิงมีประสิทธิภาพสูง เมื่อปุ่มไกปืนถูกกด ปืนจะทำการยิงก็ต่อเมื่อมีการแก้ค่าความแตกต่างระหว่าง แนวเส้นเล็งกับแนวแกนปืนใหญ่รถถังอยู่ในย่านที่ยอมรับได้ ขนาดของ “มุมยิง” ขึ้นอยู่กับระยะยิง และปัจจัยอื่นๆ ลำกล้องปืนใหญ่รถถังสามารถทำงานผิดเพี้ยนไปได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ความร้อนจากการยิง, ฝนตกบนพื้นผิว, การแพร่กระจายคลื่นความร้อน หรือลมพัดขวางเป็นต้น ผลจากปัจจัยเหล่านี้ถูกลดลงโดยการนำเอาปลอกกระจายความร้อน (Thermal sleeve)มาใช้ และเพื่อแก้ไขอาการคลาดเคลื่อน เนื่องจากความร้อนที่แพร่ออกจากลำกล้องปืนใหญ่ ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ปากลำกล้องเพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับการคลาดเคลื่อนของลำกล้องให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีทำการแก้ไขทันทีซึ่งระบบมีเวลาในการเตรียมการยิงสำหรับกระสุนนัดแรกของปืนใหญ่รถถังดังนี้

  • เมื่อรถถังอยู่กับที่ ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-12 วินาที
  • เมื่อรถถังเคลื่อนที่ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-15 วินาที

เซ็นเซอร์ป้อนข้อมูลคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิธีปืนใหญ่

  • เครื่องวัดมุมเอียง (Cant Sensor) ตัวเซ็นเซอร์หรือตัวตรวจจับนี้มีหน้าที่พิจารณาตำแหน่งของการเอียงของปืนทั้งสองแนวระนาบ เพื่อป้อนให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณการยิง
  • เครื่องวัดความเร็วลมทางข้าง (Cross Wind Sensor) มีหน้าที่วัดความเร็วลมที่เกิดการพัดขวาง เพื่อป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีของปืนใหญ่รถถัง
  • เครื่องวัดความเร็วรถถัง (Tank Speed Sensor) มีหน้าที่วัดความเร็วรถถังในขณะเคลื่อนที่ เพื่อป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีของปืนใหญ่รถถัง
  • เครื่องวัดค่าตำแหน่งป้อมปืนเชิงมุม (Turret Attitude Sensor) มีหน้าที่วัดตำแหน่งเชิงมุมของป้อมปืนที่ทำกับตัวรถ (มุมป้อมปืน) เพื่อป้อนให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีปืนใหญ่รถถัง
  • ระบบจุดอ้างปากลำกล้อง(Muzzle Reference System : MRS) ระบบนี้มีหน้าที่ในการวัดค่าการบิดงอตัวของลำกล้อง เพื่อทำการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิธีปืนใหญ่รถถัง

ระบบขับเคลื่อนป้อมปืน

ระบบขับเคลื่อนป้อมปืนของรถถังOplot ประกอบไปด้วย

  • ระบบหมุนป้อมปืนทางสูงแบบไฟฟ้า-ไฮโดรลิค สามารถยกปืนได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 0.05-1 องศา/วินาที
  • ระบบหมุนป้อมปืนทางระยะแบบกลไกไฟฟ้า สามารถหมุนป้อมปืนได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 0.05-40 องศา/วินาที
  • ระบบรักษาการทรงตัวแบบ 2E42M ใช้ระบบ Mechanical Gyroscope รักษาการทรงตัว 2 แกน มีความผิดพลาดไม่เกิน 0.4 มิลลิเรเดียน

กล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M[6]

ระบบกล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M เป็นกล้องเล็งกลางวันซึ่งพัฒนามาจากกล้องเล็งกลางวันแบบ1G46 บนรถถังแบบT-80U/UD แต่ได้เพิ่มระบบการปรับศูนย์แก้อาการเบี่ยงเบนของไยโร (Gyro Drifting)โดยอัตโนมัติ มีคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นกล้องเล็งกลางวันและกล้องสำหรับนำวิถีอาวุธนำวิถี พร้อมระบบเลเซอร์วัดระยะ
  • มีระบบรักษาการทรงตัวแบบไจโรสโคป 2 แกน มีความผิดพลาดไม่เกิน 0.2 มิลลิเรเดียน
  • กำลังขยาย 2.7-12.0 เท่า ปรับกำลังขยายแบบต่อเนื่อง
  • แนวเล็งทางสูง -15 ถึง +20 องศา
  • แนวเล็งทางระดับ ±8(±1) องศา
  • แนวเล็งทางระดับพร้อมกับป้อมปืน 360 องศา
  • ความเร็วเชิงมุมของแนวเล็งทางสูงและทางระดับ 0.05 - 3 องศา/วินาที
  • เลเซอร์วัดระยะ ชนิดNd:YAG ความยาวคลื่น 1.06 ไมโครเมตร
  • ขีดจำกัดการวัดระยะ 400 - 5115 เมตร
  • ความผิดพลาดในการวัดระยะ ±10 เมตร

สำหรับการเล็งอาวุธนำวิถีนั้น ระบบกล้องเล็งกลางวัน 1G46M จะใช้โมดูลเลเซอร์แยกสำหรับการนำวิถีสำหรับอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง ซึ่งใช้เทคนิดการปรับคลื่นลำแสงเลเซอร์ให้เกิดเป็นตาราง (Laser Modulation) สำหรับอ้างอิงจุดพิกัดที่อาวุธนำวิถีควรอยู่[7]การใช้งานสำหรับระบบ 1G46Mนั้น ง่ายเช่นเดียวกับระบบ1G46เดิม คือสามารถใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่พลยิงเพียงทาบจุดเล็ง วัดระยะด้วยเลเซอร์ แล้วยิง โดยมีระบบสำรองเป็นการวัดระยะด้วยเส้นวัด (Stadiametric rangefinding) เพื่อป้อนข้อมูลเข้าระบบคำนวณขีปนวิถี หรือ ใช้เส้นเล็งแบบกลไกที่มีมาให้ในกล้องเล็งอยู่แล้ว

กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2[8]

กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 พัฒนามาจากระบบกล้องเล็งกลางคืน TO1-KO1 หรือ TPN-4 Buran แต่ได้เปลี่ยนระบบภายในจากกล้องขยายแสง (Image intensifier) เป็นกล้องสร้างภาพความร้อน (Thermal Imaging Sight) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า มีระยะตรวจการณ์ไกลกว่า และสามารถใช้ได้ในโหมดPassiveเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มการเชื่อมต่อเข้ากับระบบคำนวณขีปนวิถี และ ทำการปรับแนวเล็งให้เป็นแนวเดียวกับกล้องเล็งกลางวัน (ซึ่งแต่เดิม ระบบTPN-4 ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบคำนวณขีปนวิถี และมีแนวเล็งต่างจากกล้องเล็งกลางวัน[9]) กล้องเล็งแบบสร้างภาพด้วยความร้อน PTT-2 ประกอบไปด้วยกล้องเล็งของพลยิง และจอไมโครมอนิเตอร์ของผู้บังคับรถในกล้องเล็งรอบทิศPNK-6รวมทั้งแผงควบคุม โดยปกติกล้องนี้จะถูกควบคุมการทำงานโดยพลยิง แต่ผู้บังคับรถสามารถควบคุมแยกจากพลยิงได้ไม่ว่าจะเป็นการเล็ง หรือทำการยิงทั้งปืนใหญ่รถถัง หรือปืนกลร่วมแกนโดยใช้ระบบควบคุม และจอมอนิเตอร์สร้างภาพด้วยความร้อนของตน กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนนี้ช่วยให้ทั้งพลยิงและผู้บังคับรถสามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำในสภาพทัศนะวิสัยจำกัด เช่น มีหมอกควัน หรือการปฏิบัติในเวลากลางคืน

กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบPTT-2 ใช้ระบบรักษาการทรงตัวแบบไม่อิสระ 1แกน โดยเชื่อมต่อกับระบบรักษาการทรงตัวของกล้องเล็งแบบ1G46Mและระบบรักษาการทรงตัวปืนแบบ2E42M ผ่านระบบสัญญาณไฟฟ้า และ ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมกระจกสะท้อนหลักในการทำงาน [10] จากเดิมที่กล้องเล็งกลางคืนแบบTPN-4 จะใช้การเชื่อมต่อทางกลไกกับแคร่ปืน

กล้องสร้างภาพความร้อนของระบบ PTT-2 นั้น ใช้กล้องของบริษัทThales รุ่นCatherine FC

กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2มีคุณสมบัติดังนี้ [11]

  • อัตราขยายแบบออปติคัล 2 จังหวะ และอีก 1 จังหวะแบบดิจิตอล
  • ค่ามุมมองการมองเห็น 9°х6.75° จนถึง 1.5°х1.12°
  • ระยะตรวจจับไกลสุด 12,000 เมตร
  • ค่าความแม่นยำในการเกาะเป้าเชิงมุม 0.5 มิลลิเรเดียน

กล้องตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6

เป็นระบบกล้องเล็งและตรวจการณ์ของ ผบ.รถ เป็นกล้องเล็งตรวจการณ์รอบทิศ (Panoramic Sight) มีระบบรักษาการทรงตัวอิสระแบบสองแกน ประกอบไปด้วยระบบดังต่อไปนี้ [12]

  • กล้องเล็งกลางวัน อัตราขยาย1.2, 6.0 และ 12 เท่า มีระยะตรวจจับไกลสุด 5,500 เมตร แนวเล็งทางสูงที่ -17° ถึง +65° ทางระดับหมุนได้รอบ 360°
  • กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อน ซึ่งใช้กล้องสร้างภาพด้วยความร้อนจากบริษัท Thales รุ่น Catherine FC อัตราขยาย 2ระดับ มีระยะตรวจจับไกลสุดสำหรับเป้าหมายรถถัง ในอัตราขยายต่ำที่ 5,000 เมตร
  • ระบบเลเซอร์วัดระยะ ชนิดความยาวคลื่น1.06 ไมโครเมตร สามารถวัดระยะได้ตั้งแต่ 200 - 9,500 เมตร ด้วยอัตราผิดพลาด ±5 เมตร และมีระบบต่อต้านการรบกวนเลเซอร์ด้วยการยิงเลเซอร์วัดระยะพร้อมกัน 3ครั้ง โดยผู้บังคับรถสามารถเลือกระยะที่เหมาะสมได้เอง หรือ ให้คอมพิวเตอร์คำนวณค่าที่เหมาะสมเองโดยอัตโนมัติ
  • ระบบสวิตช์แลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ BK-6
  • ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม EB-6
  • ระบบควบคุมกล้อง BUG-6

ความสามารถของระบบกล้องตรวจการณ์ PNK-6 มีดังต่อไปนี้ [13]

  • ตรวจการณ์รอบทิศ และ ส่งต่อเป้าหมายที่ตรวจพบให้พลยิง
  • ยิงปืนกลต่อสู้อากาศยาน
  • ยิงปืนหลัก
  • ยิงปืนกลร่วมแกน
  • ยิงจรวดต่อสู้รถถังผ่านระบบกล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนของพลยิง
  • วัดระยะเป้าหหมายด้วยระบบเลเซอร์วัดระยะ
  • ตรวจดูเป้าหมายของพลยิงผ่านระบบกล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนของพลยิง
  • แจ้งเตือนเลเซอร์เล็งเกาะ และ ยิงระเบิดควันไปยังทิศนั้นๆ

ระบบPNK-6 ถือว่าเป็นระบบที่ทำให้รถถังOplot Mมีความสามารถในการต่อต้านเป้าหมายได้ในแบบHunter-Killer ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และช่วยเพิ่มความตื่นรู้สถานการณ์ (Situation Awareness )ให้กับผู้บังคบรถได้ อย่างมีนัยยะสำคัญ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ที-84 http://www.armyrecognition.com/index.php?option=co... http://lreri.tripod.com/Presentation_SE_LRERI.pdf http://www.kotsch88.de/f_9k119.htm http://www.kotsch88.de/f_tpn-4.htm http://www.globalsecurity.org/military/world/ukrai... http://btvt.narod.ru/4/shtora1/shtora1.htm http://btvt.narod.ru/4/t84vst90skr2.htm http://www.npoelm.ru/production/sproduction/shtora... http://photopribor.ck.ua/en/products/defense/btt/p... http://photopribor.ck.ua/en/products/defense/equip...