บนเจดีย์ ของ ที่

ที่ บนยอดเจดีย์ชเวดากอง

อาจกล่าวได้ว่า ที่ เป็นลักษณะเด่นหลักของเจดีย์พม่า เนื่องจากมีความโดดเด่นมากกว่าเจดีย์ในศรีลังกา ลาวและไทย ที่มักไม่มีการประดับฉัตรบนยอดเจดีย์ ส่วนปลายของ ที่ ซึ่งประดับด้วยอัญมณีมีค่า เรียกว่า เซนพูดอ (စိန်ဖူးတော်) ที่ มักพบบนเจดีย์ที่สร้างโดยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสี่กลุ่มของประเทศพม่า ได้แก่ มอญ, พม่า, ยะไข่ และไทใหญ่

ที่ ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเจดีย์ จึงมีพิธีพิเศษเมื่อมีการประดับ เรียกว่า ที่ ทิน ปเว (ထီးတင်ပွဲ)

ที่ มักประดับบนยอดเจดีย์และแขวนพร้อมระฆังจำนวนมาก[9] ที่ บนเจดีย์สำคัญมักทำด้วยทองหรือเงินทั้งหมด[9] ระฆังใช้เพื่อดึงดูดเหล่าเทวดา ที่สถิตบนเขาพระสุเมรุและในดาวดึงส์[9]

ตัวอย่าง

ที่ บนวิหารในพุกามและมเยาะอู้ ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ทางโบราณคดีสองแห่งของประเทศพม่าล้วนทำด้วยหิน ในขณะที่เจดีย์ที่นั่นและที่อื่น ๆ ทั่วพม่าทำด้วยโลหะ มักใช้เป็นเหล็กหรือเหล็กกล้าชุบทอง จากนั้นตกแต่งด้วยทอง ทองชุบและระฆังสัมฤทธิ์ (ခေါင်းလောင်း) ตามด้วยเครื่องประดับที่ได้รับบริจาคจากผู้ศรัทธา

ที่ บนยอดเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้งสูงประมาณหนึ่งชั้นครึ่งและมีทองคำประมาณครึ่งตัน[10][11] และประดับด้วยเพชรมากกว่า 5,500 เม็ด ทับทิม 2,300 เม็ด ไพลินและอัญมณีอื่น ๆ และระฆังทอง 4,000 ใบ[10] ที่ คันเก่าซึ่งได้รับการถวายโดยพระเจ้ามินดงสามารถพบได้ที่บริเวณเจดีย์ เป็นงานเหล็กเคลือบทอง โดยแต่ละห่วงแขวนระฆังทองและเงินประดับอัญมณีมากมาย[12] และมีราคาไม่ต่ำกว่า 50,000 ปอนด์อังกฤษ[12] ถูกสร้างขึ้นโดยแรงงานที่สมัครใจ โดยใช้เงินและอัญมณีที่ได้รับบริจาค[12] ใบพัดและสายบนสุดประดับด้วยอัญมณีที่มาจากทุกส่วนของพม่า[12]