เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ของ ที่

ภาพวาดพม่าแสดงถึงฉัตรสีขาวที่ใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์

ในพม่าก่อนช่วงอาณานิคม ที่ เป็นตัวบ่งชี้สถานะทางสังคมและใช้โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตอย่างชัดเจนเท่านั้น ฉัตรขาวหรือ ที่ พยู ดอ (ထီးဖြူတော်) เป็นหนึ่งในห้าเครื่องราชกกุธภัณฑ์พิธีราชาภิเษก (မင်းမြောက်တန်ဆာ, มี่น มะเยาะ ตานซา)[2]

การใช้และครอบครองฉัตรขาวนั้นจำกัดไว้เฉพาะกษัตริย์และพระอัครมเหสีเท่านั้น ในขณะที่ข้าราชการระดับสูง (หวุ่น, ဝန်) และเจ้าชาย (รวมทั้งมกุฏราชกุมาร หรือ พระมหาอุปราช) ครอบครองฉัตรสีทอง และเจ้าหน้าที่ระดับล่างครอบครองฉัตรสีแดงถ้ามี[3][4][5]

ฉัตรขาวเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจอธิปไตย[5] การใช้ฉัตรขาวโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กษัตริย์และพระอัครมเหสีถือเป็นการประกาศกบฏ โดยมีโทษประหารชีวิตทันที[6] เมื่อกษัตริย์สวรรคตจะมีการหักฉัตรขาวที่ทรงครอบครอง[5] ฉัตรขาวยังได้รับอนุญาตให้ใช้ในทางศาสนาด้วย[3] เช่น เดิมพระมหามัยมุนีมีฉัตรขาวบังไว้[7]

ฉัตรประดับทั้งด้านในและด้านนอกด้วยรูปเหล่าชาวสรรค์จากทอง แผ่นทองคำบาง ๆ ที่คล้ายใบโพประดับไว้ด้านบน และด้ามจับทองคำประดับด้วยไข่มุก เพชร ทับทิม มรกต ปะการัง และเครื่องประดับแวววาว[8] ฉัตรที่กษัตริย์ใช้ทรงช้างหรือทรงรถม้าเรียกว่า ยิน ที่[8]

จำนวนฉัตรที่ครอบครองยังเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะทางสังคม เนื่องจากฉัตรเหล่านี้ถูกแสดงในระหว่างขบวนแห่ในที่สาธารณะ และนำไปประดับไว้ในสถานที่สำคัญ ๆ ในพระราชวัง กษัตริย์มีฉัตรขาวเก้าองค์ มกุฎราชกุมารมีฉัตรทองแปดคัน รัฐบุรุษผู้มีชื่อเสียงและแม่ทัพมีฉัตรทองหลายคัน ตามที่พระราชทานจากจำนวนความสำเร็จหรือเป็นที่นับถือของกษัตริย์ ช้างเผือกหลวง (ซีน-พยูดอ, ဆင်ဖြူတော်) ได้รับฉัตรหกคัน คือฉัตรขาวสองคัน และฉัตรทองสี่คัน[6]

ชเวปอน นิดาน, เป็นบทความเรื่องของพระราชวัง อธิบายฉัตรของราชวงศ์ 11 ประเภทและเทพารักษ์หญิงที่เกี่ยวข้อง (น่ะ ตะมี, နတ်သ္မီး) ซึ่งคอยพิทักษ์ฉัตรเหล่านี้[8]