ประวัติ ของ ที่ชา

ที่ชาและถ้วยชาที่นิยมเล่นในไทยนั้น สันนิฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระหว่าง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยน้ำชาที่เข้ามานั้น ส่วนมากเป็นลายสีและลายน้ำทอง ถ้วยลายครามมีน้อยมาก ถ้วยชง(ถ้วยไก้หว่าน 蓋碗)มักเป็นทรงถ้วยน้ำพริก ถ้วยตวง(จอกชา 品茗杯)มักเป็นทรงบัว ส่วนถ้วยตวงที่มีฝาเป็นของที่ไทยสั่ง ถ้วยในยุคนี้ที่นับถือว่าวิเศษสุด คือ ถ้วยชุด4 เป็นของราชบรรณาการจากจักรพรดิจีนถวายมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นถ้วยชาอย่างที่เรียกว่า เครื่องเปลือกไข่ คือบางเกือบจะเท่าเปลือกไข่ ทรงโอพื้นขาว เขียนลายหนังสือเล็กเส้นหมึกขอบแดง ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บรักษาไว้ตลอดรัชกาล แล้วตกไปเป็นของผู้อื่น แล้วนำมาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยชาแตกไป1ใบ จึงเอาทองคำทำแทนเนื้อที่แตกแทน

ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยชาส่วนมากเป็นเครื่องลายคราม มีทั้งของจีนและของญวน เป็นของที่นำเข้ามาขายโดยพวกนายห้างเพื่อนำมาขายให้บรรดาขุนนาง คฤหบดีเศรษฐี และผู้มีกำลังทรัพย์ มีมากมายหลายยี่ห้อ เช่นยี่ห้อโปจูลี่กี่(寶珠利記) และกิมตึ๋งฮกกี่(金堂福記) ฯลฯ อีกมากมาย ซึ่งมีมาจนถึงสมัยรัชกาลที่5

ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคิดอย่างถ้วยชาจักรี และทรงสั่งทำในยุโรปเมื่อ พ.ศ.2430 เป็นเครื่องพื้นสีเขียนลายสอดทองทั้งสิ้น ทำลายเดียวมี9สี คือ 1พื้นทองข้างในเคลือบทอง 2พื้นเงิน 3สีแดง 4สีขาว 5สีชมพู 6สีเขียว 7สีน้ำเงิน 8สีเหลือง 9สีดำ บนฝาเขียนรูปจักรี จึงเรียกถ้วยจักรี มีทั้งชุดไทย ชุดจีน ชุดจีโบ

และได้ทรงคิดอย่างถ้วยชาอักษรพระนาม และทรงสั่งทำในเมืองจีนเมื่อ พ.ศ.2431 อีกคราว เป็นเครื่องลายครามทั้งสิ้น ผูกอักษรพระนาม จปร เลียนแบบเป็น ลายจีนอย่างหนังสือใหญ่ ลายกระแปะ ลายกระแปะฮ่อ ลายฮ่อเครื่องมงคล ลายลูกไม้ค้างคาว ลายลูกไม้มีอักษรพระนาม มีทั้งชุดจีโบ ชุดไทย ชุดจีน ชุดญวน เป็นของหลวงสั่งเข้ามาใช้ราชการ และพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ ภายหลัง พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) ได้ขอพระบรมราชานุญาตสั่งถ้วยชาชุดอักษรพระนามเข้ามาขายในยี่ห้อ กิมตึ๋งฮวดกี่ (錦堂發記)[1]

ใกล้เคียง

ที่ชา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทีมชาติที่ลงแข่งขันฟุตบอลโลก ที่ราบสูงโคราช ที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงโบลาเวน ทีมชาติที่ลงแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง ที่ราบสูงโกลัน ที่ราบโนบิ ที่มาของประชากรลาว