บทบาทและหน้าที่ ของ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ_(สหรัฐ)

อิทธิพลและบทบาทของที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ แตกต่างกันไปตั้งแต่การบริหารงานจนถึงคุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่ยังอยู่ในรูปแบบและปรัชญาการบริหารของประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ด้วย[5] ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติทำหน้าที่เป็นนายหน้าที่ซื่อสัตย์ในการเลือกนโยบายสำหรับประธานาธิบดีในด้านของความมั่นคงของชาติ แทนที่จะเป็นผู้สนับสนุนนโยบายของตนเอง[6]

อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในสำนักบริหารของประธานาธิบดีและไม่มีอำนาจทางสายบังคับบัญชาหรืองบประมาณเหนือกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซึ่ง วุฒิสภาสหรัฐ ได้ลงมติยินยอมและเห็นชอบให้มีอำนาจตามกฎหมายในหน่วยงานของตน[7] แต่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสามารถให้คำแนะนำด้านสถานการณ์รายวัน (เนื่องจากความใกล้ชิดกับประธานาธิบดี) ต่อประธานาธิบดีโดยไม่ขึ้นกับผลประโยชน์ของหน่วยงานใดหรือบุคคลใด[5]

ในยามวิกฤตการณ์ หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสามารถดำเนินงานได้จากจากห้องสถานการณ์ทำเนียบขาว หรือศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินของประธานาธิบดี (เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544[8]), ซึ่งได้แก้ไขระเบียบตามคำสั่งประธานาธิบดี หลังจากเผชิญเหตุวิกฤตการณ์ในช่วงล่าสุด

ผู้ดำรงตำแหน่ง จอห์น อาร์ โบลตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ตามการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ สืบต่อจาก พลโท เอช อาร์ แม็คมาสเทอร์

ตั้งแต่วันที่ 09 เมษายน 2561 ซึ่งดำรงตำแหน่งคนที่ 27 และ คนปัจจุบัน

ใกล้เคียง

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาอาวุโสประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ปรึกษา ที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ) ที่ประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล