ความสำคัญทางธรณีวิทยา ของ ที่ราบสูงโบลาเวน

นักธรณีวิทยาเชื่อว่า ดาวตกขนาดประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ตกกระทบพื้นผิวโลกเมื่อประมาณ 790,000 ปีก่อน สันนิษฐานว่า หลุมอุกกาบาตนี้อาจถูกฝังอยู่ในเขตภูเขาไฟที่ราบสูงโบลาเวนเนื่องจากมีการพบอุลกมณี กระจายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา นับว่าเป็นหลุมอุกกาบาตที่อายุน้อยที่สุดและพื้นที่การแตกกระจายของอุลกมณีที่กินบริเวณกว้างใหญ่ที่สุด การประมาณการล่าสุดชี้ให้เห็นว่าอาจครอบคลุมถึงร้อยละ 10–30 ของพื้นผิวโลก (เรียกชื่อของพื้นที่การแตกกระจายอุลกมณีที่เกิดจากอุกกาบาตนี้ว่า Australasian Strewnfield)[5]