แผนปรับปรุง ของ ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์

ปริมาณการใช้บริการจำนวนมากและปัญหาความหนาแน่นทำให้มีการยกเลิกเที่ยวบิน และทำให้เกิดความล่าช้าที่โอแฮร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบินทั่วสหรัฐอเมริกา มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าโอแฮร์เป็นท่าอากาศยานที่ตรงต่อเวลาน้อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยวัดจากสัดส่วนของเที่ยวบินที่เกิดความล่าช้า ในปีพ.ศ. 2547 ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ และอเมริกัน แอร์ไลน์ มีข้อตกลงร่วมกันที่จะปรับเปลี่ยนตารางเวลาบินเพื่อลดความคับคั่งทั้งขาเข้าและขาออก และเพราะการจราจรทั้งขาเข้า ขาออก และท่าอากาศยานบริเวณใกล้เคียง เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินของโอแฮร์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆต้องทำงานหนักมากที่สุดในโลก เนื่องด้วยปริมาณเที่ยวบินจำนวนมากต่อชั่วโมง

เมืองชิคาโกได้อนุมัติวงเงินทุน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของท่าอากาศยานอีกร้อยละ 60 และลดความล่าช้าลงประมาณร้อยละ 79[6] โดยแผนงานนี้ได้รับอนุมัติจากการท่าอากาศยานสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเกี่ยงข้องกับการขยายพื้นที่ของท่าอากาศยานและอาคารผู้โดยสาร โดยจะมีทางวิ่ง 4 เส้น ที่สร้างเพิ่ม และรื้อถอนออกไป 3 เส้น ซึ่งจะทำให้มีทางวิ่งขนานกันทั้งหมด 8 เส้น คล้ายกับกรณีของดัลลาส โดยจะทำให้โอแฮร์ขยายขีดความสามารถที่จำกัดเพื่อที่โอแฮร์จะไม่เพลี้ยงพล้ำให้กับท่าอากาศยานใดๆ ในกรณีของจำนวนผู้โดยสารในอนาคต แผนการปรับปรุงนี้ได้เริ่มลงมือก่อสร้างแล้ว หลังจากที่เกิดความล่าช้ามานาน และทางวิ่งใหม่เส้นแรกคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2551-2552 และจะขยายอาคารผู้โดยสาร 3 และ 5 ส่วนอาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะตั้งอยู่สุดทางฝั่งตะวันตกของพื้นที่ พร้อมกับทางเข้าออกใหม่ อย่าไรก็ตามจะต้องมีการเวนคืนที่ดินบางส่วน ประมาณ 2,800 ครัวเรือน โครงการนี้จะทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถรองรับการจราจรได้มากกว่า 3,800 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 2,700 เที่ยวบินต่อวัน และจะทำให้ความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

  ทางวิ่งปัจจุบันนี้
  ทางวิ่งใหม่
  ทางวิ่งที่จะรื้อออก
  • ระยะที่ 1 ของแผนปรับปรุง
  • ระยะที่ 2
  • ระยะที่ 3
  • ทิศทางทางวิ่งเมื่อเสร็จสิ้นตามแผน

การต่อต้าน และทางเลือกอื่น

มีการรวมตัวกันของชุมชนเบนเซนวิลล์ และเอลก์กรูฟวิลเลจ ในรัฐอิลลินอยส์ ขึ้นเป็นคณะกรรมการชุมชนรอบบเมืองโอแฮร์ (Suburban O'Hare Commission)[7] เพื่อต่อต้านแผนปรับปรุงท่าอากาศยาน เพราะจะทำให้บ้านเรือน และธุรกิจร้านค้าต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ ถึงแม้ว่าข้อเรียกร้องจะไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก แต่ก็ได้คำสั่งศาลให้คุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการขยายท่าอากาศยานออกไปก่อน อย่างไรก็ตามคำสั่งคุ้มครองก็ยกเลิกไปในภายหลังไม่นานนัก นอกจากนี้ทางคณะกกรมการชุมชนได้ยื่นข้อเสนอให้หันไปพัฒนาท่าอากาศยานอับราฮัม ลิงคอล์น เนชั่นเนลแทน เพื่อลดความแออัดของโอแฮร์ แต่ไม่มีสายการบินใดตอบรับข้อเสนอนี้

ในปีพ.ศ. 2538 เมืองชิคาโก และเมืองแกรี่ ในรัฐอินดีแอนา ได้จับมือกันตั้งกรรมการบริหารท่าอากาศยานนานาชาติแกรี่/ชิคาโกขึ้นมาปรับปรุงท่าอากาศยานแห่งนี้ขึ้นมาเป็นท่าอากาศยานอันดับ 3 ที่รองรับเมืองชิคาโก แต่แผนปฏิบัตินี้มีขนาดเล็กกว่าข้อเสนอปรับปรุงท่าอากาศยานอับบราฮัม ลินคอล์น แต่แกรี่/ชิคาโกก็มีความพร้อมตรงที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าชิคาโกมิดเวย์ รวมทั้งมีทางวิ่งให้บริการที่ยาวกว่าทางวิ่งที่ยาวที่สุดของชิคาโกมิดเวย์ อย่างไรก็ตามรัฐบาลรัฐอิลลินอยส์ก็ไม่ได้เห็นพ้องกับเมืองชิคาโกเท่าใดนัก มีเพียงผู้ว่าการรัฐอินเดียนา มิตช์ แดเนียลส์ ที่ให้การสนับสนุนเงินทุนพัฒนาท่าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างขยายขนาดทางวิ่งอยู่ และองค์กรการบินสหรัฐอเมริกา (FAA) ก็เห็นชอบกับโครงการนี้ และเห็นความจำเป็นในการขยายขีดความสามารถทั้งของโอแฮร์ และแกรี่/ชิคาโก เพื่อรองรับเมืองชิคาโก

นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโก/ร็อคฟอร์ด ในเมืองร็อคฟอร์ด ที่มีความพยายามเสนอตัวเป็นทางเลือกเพื่อลดความแออัดของโอแฮร์ ปัญหาที่สำคัญของท่าอากาศยานแห่งนี้ก็คือ การจราจรระหว่างท่าอากาศยานกับโอแฮร์กับตัวเมืองชิคาโก ที่ยังไม่พร้อมที่ระรองรับการขยายตัว แต่นายกเทศมนตรีคนปัจจุบันของเมืองร็อคฟอร์ด แลร์รี่ มอร์ริสซีย์ ก็ได้เร่งสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างชิคาโก/ร็อคฟอร์ดและโอแฮร์ เพื่อสร้างโอกาสของท่าอากาศยานในอนาคต

ท่าอากาศยานนานาชาติเจเนรัลมิตเชลล์ ในมิลวอกี รัฐวิสคอนซิน เป็นท่าอากาศยานอีกแห่งหนึ่งที่เสนอตัวเป็นทางเลือกของเมืองชิคาโก และเมืองทางตอนเหนือของอิลลินอยส์ และยังมีระบบรถไฟแอมแทร็ก เชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานมิตเชลล์และเมืองชิคาโกอยู่แล้ว

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานนครราชสีมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ http://flychicago.com/Ohare/OhareHomepage.shtm http://www.flychicago.com/Statistics/stats/1208SUM... http://www.flychicago.com/news/pdf/GlobalTraveler1... http://www.flychicago.com/ohare/runways/plans.pdf http://www.gcr1.com/5010web/Rpt_5010.asp?au=PU&o=P... http://www.gcr1.com/5010web/airport.cfm?Site=ORD http://modernization.ohare.com/program.htm http://www.ohare.com/MasterPlan http://www.ohare.com/Ohare/OhareHomepage.shtm http://www.house.gov/transportation/aviation/09-09...