ประวัติ ของ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

ก่อตั้งท่าอากาศยาน

ปี พ.ศ. 2528 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ก่อสร้างท่าอากาศยานจังหวัดบุรีรัมย์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ 3 แปลง แต่ที่ดินทั้ง 3 แปลงไม่เหมาะสมต่อการก่อสร้าง กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน ในปัจจุบัน) ได้แจ้งจังหวัดให้จัดหาที่ก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่ จังหวัดจึงได้เสนอที่ดินสาธารณประโยชน์ โคกเสม็ด และโคกพริก ในพื้นที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยาน ดังนั้น กรมการบินพาณิชย์ จึงวางแผนการก่อสร้างและทำการสำรวจความเป็นไปได้เบื้องต้น ปรากฏว่าที่ดินบริเวณดังกล่าว มีเนื้อที่ไม่เพียงพอ ต้องโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ และราษฎรในพื้นที่คัดค้านไม่ยอมให้สร้างท่าอากาศยานในพื้นที่ดังกล่าว

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 ทางจังหวัดจึงได้เสนอที่ดินบริเวณป่าโคกโจด อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 3,750 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ประมาณ 75 กิโลเมตร ให้กรมการบินพาณิชย์ก่อสร้างท่าอากาศยานบุรีรัมย์

ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยาน โดยให้มีศักยภาพรองรับเครื่องบินขนาด 150 ที่นั่ง ขึ้น – ลงได้ และคาดว่าผลที่ได้รับจะทำให้พื้นที่ บริการของท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ครอบคลุมได้ทั่วบริเวณอีสานใต้

ปี พ.ศ. 2536 – 2539 ท่าอากาศยานบุรีรัมย์จึงได้ก่อกำเนิดขึ้น ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้จัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2536 เพื่อก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 376.20 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 และได้รับการประกาศให้เป็นท่าอากาศยานอนุญาตเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2]

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นครั้งแรกที่มีสายการบิน 2 สายการบินเปิดให้บริการพร้อมกัน[5] ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 575.29%

ให้ท่าอากาศยานไทยเข้าบริหาร

ในปี พ.ศ. 2562 กรมท่าอากาศยาน และกระทรวงคมนาคมซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้มีแผนการที่จะให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เข้าบริหารท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยไม่ต้องมีการประมูล และกรมท่าอากาศยานยังคงความเป็นเจ้าของท่าอากาศยานบุรีรัมย์[6]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัด ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ http://www.buriramguru.com/buriram-carrents/ http://www.ictbr4.org/resourceed/resourcelocaluser... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.airports.go.th https://www.mu-ku-ra.com/2016/05/35.html https://www.thansettakij.com/content/409033 https://f.ptcdn.info/697/002/000/1362132611-IMG053... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Burira... https://minisite.airports.go.th/buriram/about1300.... https://minisite.airports.go.th/buriram/about1344....