การถูกลงทัณฑ์ ของ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์_(แจ่ม)

พระเพทราชาซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ในแผ่นดินด้วยการสนับสนุนของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งเป็นน้องสาว มิได้คัดค้านคำพิจารณาพิพากษา หรือขอรับพระราชทานอภัยโทษให้แก่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เลย กลับเป็นคนแรกที่ธำรงอำนาจวาสนาตนไว้ ด้วยการเสนอให้พิจารณาลงโทษนางที่เคยพระคุณต่อตนถึงขั้นประหารชีวิต คณะที่ปรึกษาได้พิจารณาลงโทษให้เอานางสนมไปโยนให้เสือกินเสีย ส่วนเจ้าฟ้าน้อยนั้นก็ทรงต้องระวางโทษให้สำเร็จโทษด้วยการใช้ไม้จันทน์สองท่อนบีบอัดเสียให้สิ้นพระชนม์ โดยอย่าให้โลหิตตกต้องแผ่นดินได้ โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประหารพระสนมเอกตามคำพิพากษา ส่วนพระอนุชาธิราชได้พระราชทานผ่อนโทษลง ด้วยเหตุที่ว่า พระเชษฐภคินีองค์หนึ่งซึ่งพระองค์ทรงรักใคร่มากนั้น เมื่อใกล้จะถึงกาลกิริยาได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยงพระอนุชาธิราชพระองค์นี้ เสมอว่าพระองค์เป็นพระบิดา ด้วยพระนางเธออำรุงเลี้ยงมาด้วยความเสน่หายิ่ง สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงให้ลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตร แต่ด้วยถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงทรงทรงพิจารณาลงทัณฑ์ให้สาหัสด้วยหวาย และทรงเห็นว่าพระเพทราชาเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะสำเร็จโทษเจ้าชาย เพื่อเป็นการแก้แค้นที่กระทำการลบหลู่พระเกียรติของพระองค์ จึงมีพระราชอาญาให้พระเพทราชา กับพระปีย์เป็นผู้ลงโทษ

ใกล้เคียง

ท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา) ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวศรีสัจจา (เจ้าจอมมารดาอิ่ม ในรัชกาลที่ 4) ท้าวศรีสัจจา (มิ) ท้าวศรีสุนทร ท้าวศรีสุดาจันทร์ (บุคคล) ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ) ในพระมหาธรรมราชาลิไท ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ท้าวศานตนุ