ประวัติ ของ ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียต

เมื่อเบลารุสและยูเครนเข้ามาเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2488 ธงสีแดงของพวกเขามีเพียงชื่อยู่มุมบนด้านซ้ายเท่านั้นทีจะแยกแยะจากธงชาติของประเทศอื่นๆได้

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2490 สหประชาชาติได้เรียกร้องให้สหภาพโซเวียตมีมติให้แต่ละสาธารณรัฐที่ได้พัฒนาและนำธงชาติใหม่มาใช้ ทางสหภาพโซเวียตเห็นด้วยที่จะมีธงชาติประจำแต่ละรัฐ โดยให้พื้นหลักเป็นเป็นธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง ตามแบบธงชาติสหภาพโซเวียตและให้แต่ละรัฐใส่สัญลักษณ์หรือแถบสีเพื่อแสดงเอกลักษณ์ประจำรัฐนั้นๆ หลังจากการแข่งขันประกวดธงชาติประจำแต่ละรัฐ ที่ดีที่สุดในปี พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2497 ของสาธารณรัฐ 16 ยูเครนและเบียโลรัสเซีย (เบลารุส)เป็นรัฐแรกที่นำธงมาใช้ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 และ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ตามลำดับและรัฐสุดท้ายคือรัสเซียนำธงใน 9 มกราคม พ.ศ. 2497[1]

หลังจากสลายตัวของสหภาพโซเวียตในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2534มีเพียงคาซัคสถาน คีร์กีสถาน ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถานและยูเครนที่ยังใช้ธงสาธารณรัฐโซเวียตจนถึงปี พ.ศ. 2535

ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตในรุ่นปรับปรุงครั้งสุดท้ายมีดังนี้

สาธารณรัฐธงวันที่นำมาใช้บทความหลักลักษณะธงในปัจจุบัน
รัสเซีย7 มกราคม พ.ศ. 2497ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง มีแถบสีฟ้าที่ด้านติดคันธงยาวตลอดด้านกว้างซึ่งมีความยาวเป็นหนึ่งในแปดของธง
ธงชาติรัสเซีย
ยูเครน5 กรกฎาคม พ.ศ. 2493ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง มีแถบสีฟ้าที่ด้านใต้ธงตลอดความยาวเป็นหนึ่งในสามของธง
ธงชาติยูเครน
เบียโลรัสเซีย25 ธันวาคม พ.ศ. 2494ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง มีแถบ แถบล่างสีเขียวกว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างธง มีลวดลายประจำชาติเบียโลรัสเซียประดับไว้ที่ด้านติดคันธง (สีขาวบนพื้นแดง) ความกว้าง 1 ใน 9 ส่วนของความยาวธง
ธงชาติเบลารุส
อุซเบกิสถาน25 สิงหาคม พ.ศ. 2495ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง กลางธงมีแถบสีฟ้าขอบสีขาวพาดผ่าน
ธงชาติอุซเบกิสถาน
คาซัคสถาน24 มกราคม พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง กลางธงมีแถบสีฟ้าพาดผ่าน
ธงชาติคาซัคสถาน
จอร์เจีย11 เมษายน พ.ศ. 2494ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย ธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีแดงและดาวแดงอยู่ภายในดวงอาทิตย์สีฟ้า ซึ่งเปล่งรัศมีออกเป็นแนวกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดมาทางด้านข้างแนวกรอบสี่เหลี่ยมนั้นมีแถบสีฟ้าพาดตามแนวนอนบนพื้นสีแดง
ธงชาติจอร์เจีย
อาเซอร์ไบจาน7 ตุลาคม พ.ศ. 2495ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง ตอนล่างของธงนั้นเป็นแถบแนวนอนสีน้ำเงินกว้างประมาณ 1 ใน 4 ของความกว้างธง
ธงชาติอาเซอร์ไบจาน
ลิทัวเนีย15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง ตอนล่างมีแถบเล็กสีขาวซ้อนอยู่บนแถบสีเขียว
ธงชาติลิทัวเนีย
มอลเดเวีย31 มกราคม พ.ศ. 2495ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง ที่กลางธงมีแถบสีเขียวพาดยาวตามแนวนอน กว้างเป็น 2 ใน 8 ของความกว้างธง
ธงชาติมอลโดวา
ลัตเวีย17 มกราคม พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง มีแถบคลื่นสีน้ำเงินโดยมีแถบเล็กสีขาว-น้ำเงิน-ขาว วางซ้อน
ธงชาติลัตเวีย
เคอร์กิเซีย22 ธันวาคม พ.ศ. 2495สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง กลางธงมีแถบสีน้ำเงินพาดผ่านตามแนวนอน ซึ่งตอนกลางแถบดังกล่าวนั้น มีแถบสีขาวพาดทับอีกทีหนึ่ง
ธงชาติคีร์กีซสถาน
ทาจิกิสถาน20 มีนาคม พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง กลางธงมีแถบใหญ่สีขาวและแถบเล็กสีเขียวพาดผ่านตามแนวนอน
ธงชาติทาจิกิสถาน
อาร์มีเนีย17 ธันวาคม พ.ศ. 2495ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง กลางธง มีแถบแนวนอนสีน้ำเงินพาดผ่านผืนธง
ธงชาติอาร์มีเนีย
เติร์กเมนิสถาน1 สิงหาคม พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง มีแถบสีฟ้า 2 แถบพาดผ่านกลางธงตามแนวนอน
ธงชาติเติร์กเมนิสถาน
เอสโตเนีย6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง มีแถบคลื่นซึ่งปลายแหลมของคลื่นชี้ขึ้นบน โดยสีนำงินโดยมีแถบเล็กสีขาว-นำเงิน-ขาว วางซ้อน ซึ่งแถบสีวางที่ด้านล่างธง.
ธงชาติเอสโตเนีย
คารีโล-ฟินนิช[2]3 มีนาคม พ.ศ. 2496ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชธงพื้นสีแดง มีรูปค้อนเคียวสีทอง ตอนล่างของธงเป็นแถบสีฟ้าและแถบสีเขียวพาดไปตามความยาวของธง
ธงชาติสาธารณรัฐคาเรลียา
(เขตการปกครองของประเทศรัสเซีย)