เนื้อหา ของ ธรรมจักรสูตร

ดังที่ข้าพเจ้าได้สดับมา ครั้งหนึ่ง พระโลกนาถ ประทับอยู่ที่เมืองวาราณสี ณ ป่าฤษิปตนะมฤคทวะ ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีการประพฤติ (วฤตฺติ) 2 ประการที่ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น พึงหลีกเลี่ยง พฤติทั้ง 2 ประการนั้นเป็นดังฤๅ? พฤติการนั้นคือ การแสวงหาความสุขทางกามคุณแบบสุดโต่ง อันเป็นสิ่งต่ำช้า เป็นสิ่งทราม และหาประโยชน์มิได้ อีกประการหนึ่ง คือ การทรมานตนอย่างสุดโต่ง (ปิฑัน) การเบียดเบียนทั้งหลาย (วิหิงสัน) และจิตอันฟุ้งซ่าน เหล่านี้คือการประพฤติ ซึ่งผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้นพึงหลีกเลี่ยง ตถาคตได้สละแล้วซึ่งการประพฤติทั้ง 2 ประการนี้ จึงได้ตรัสรู้พระอริยสัจจ์ บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน ดังนี้ญานจึงบังเกิด ปัญญาจึงบังเกิด อภิญญา (อภิชญา) จึงบังเกิด จิตจึงสงบรำงับ เราบรรลุแล้วซึ่งอิทธิ (ฤทธิ) แล้วเข้าถึงซึ่งพระนิรวาณ ไม่หวนกลับมาเกิดอีก

ภิกษุทั้งหลาย อารยะมรรคอันเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อปัญญาอันยิ่ง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ คืออัษฏังคิมรรคมีองค์ 8 อันได้แก่ สัมยักทฤษฏิ (อธิกะทัศนะ), สัมยักสังกัลปะ (ปติการ), สัมยักวาก, สัมยักการมันตะ, สัมยักอัคชีวะ สัมยักวยายามะ (อุปายะเกาศัลยะ), สัมยักสมฤติ และสัมยักสมาธิ นี่แลเรียกว่า อารยะมรรค

เมื่อตถาคตตรัสรู้แล้ว เกิดความรู้แจ้ง เกิดปัญญา เราได้บรรลุซึ่งอิทธิทั้งปวง ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว คือได้เข้าสู่พระนิรวาณ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ พึงหลีกเลี่ยงทางอันสุดโต่งทั้ง 2 นั้นเสีย แล้วปฏิบัติตามาอารยะมรรค

หลังจากสดับพระธรรมเทศนาดังนี้แล้วภิกษุทั้งหลายบังเกิดปราโมทยินดี แล้วปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า [23] [24]

ใกล้เคียง

ธรรมจักร ธรรมจักรสูตร ธรรมจักษุ ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ธรรมชาติ ธรรมนัส พรหมเผ่า ธรรมกาย ธรรมยุติกนิกาย ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ธรรมเนียมพระยศและบรรดาศักดิ์ในราชวงศ์โชซ็อน