ประวัติ ของ ธรรมยุติกนิกายในประเทศกัมพูชา

ธรรมยุติกนิกายเป็นพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นเมื่อพระองค์ยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ต่อมาในปี ค.ศ. 1864 สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) ได้ขอพระราชทานธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระอมรภิรักขิต (เกิด) พระมหาปาน ปญฺญาสีโล (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี พระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติ)[2] และพระสงฆ์ 8 รูป อุบาสก 4 คน เดินทางไปสืบศาสนายังกรุงกัมพูชา สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดีได้ทรงอาราธนาพระมหาปานให้จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลาคู่ (วัดอ์พิลปี) กรุงอุดงค์มีชัย พุทธศาสนาแบบธรรมยุติกนิกายจึงเริ่มมีขึ้นในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ครั้งนั้น [3]

การนำเอาธรรมยุตินิกาย (ซึ่งเน้นที่การทำให้พระธรรมวินัยบริสุทธิ์ตามที่มีมาในพระไตรปิฎก) จากสยามเข้ามาเผยแพร่ ได้ทำให้พุทธศาสนาเถรวาทในกัมพูชาเกิดการแบ่งแยกเป็น 2 คณะ โดยคณะสงฆ์เถรวาทเดิมได้ชื่อว่า คณะมหานิกาย เช่นเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศสยาม คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์เช่นเดียวกับที่เป็นในสยา มแต่คณะธรรมยุติกนิกายในกัมพูชากลับมีส่วนนำความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยมาสู่ชาวกัมพูชาที่ไม่ใช่เจ้านายและชนชั้นสูง อีกทั้งไม่ได้มีมีบทบาทในการนำความทันสมัยมาสู่สังคมกัมพูชาดังเช่นที่เป็นในสยาม ในขณะที่มหานิกายซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมซึ่งมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยน้อยกว่า กลับมีบทบาทที่โดดเด่นกว่าคณะธรรมยุติกนิกาย[4]

ใกล้เคียง

ธรรมยุติกนิกาย ธรรมยุติกนิกายในประเทศกัมพูชา ธรรมชาติ ธรรมนัส พรหมเผ่า ธรรมกาย ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ธรรมเนียมพระยศและบรรดาศักดิ์ในราชวงศ์โชซ็อน ธรรมจักร ธรรม์ โทณะวณิก ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931)