เชิงอรรถ ของ ธุดงค์

หมายเหตุ 1: การจาริก ด้วยเท้า ของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน เพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้คน การทำเช่นนี้ของพระสงฆ์มีมาตั้งแต่พุทธกาล[5] พระสงฆ์ในประเทศไทยคงได้ถือคตินี้และปฏิบัติมาแต่โบราณ ทำให้คนทั่วไปในปัจจุบันมักเรียกกิริยาเช่นนั้น (การจาริกเดินเท้าของพระสงฆ์โดยแบกบริขาร เช่น กลดย่าม และบาตร เพื่อเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ) ว่า พระเดินธุดงค์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นเพียงคำเรียกทั่วไป ที่หากพระสงฆ์ผู้เดินจาริกไม่ได้ถือสมาทานองค์คุณแห่งธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ใช่ความหมายของคำว่าธุดงค์ตามนัยในพระไตรปิฎก[7]