นกเงือกปากย่น
นกเงือกปากย่น

นกเงือกปากย่น

นกเงือกปากย่น (อังกฤษ: Wrinkled hornbill, Sunda wrinkled hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros corrugatus) นกจำพวกนกเงือกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทยมีขนาดลำตัวยาว 81 เซนติเมตร ตัวมีขนาดไล่เลี่ยกับนกแก๊ก แต่มีขนาดเล็กกว่า นกตัวผู้ลำตัวสีดำโดยตลอด เว้นบริเวณหัวและคอมีสีขาว ขนหางตอนปลายสองในสามส่วนสีขาว ขนบนกระหม่อมและหงอนสีดำ ไม่มีขนปกคลุมใต้ปีก ถุงใต้คอสีขาว จะงอยปากมีสีเหลืองและยาว ตอนโคนสีแดงเรื่อ ๆ สันบนจะงอยปากด้านบนสีแดง นกตัวเมียสีขนสีดำตลอดตัว ถุงใต้คอสีน้ำเงินอมเขียวหรือสีน้ำเงิน หนังรอบตาสีน้ำเงินพบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย เฉพาะป่าดิบชื้นตอนล่างสุดของประเทศ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาลาฮาลา, ตลอดจนแหลมมลายู ไปจนถึงอินโดนีเซีย โดยจะอาศัยอยู่เฉพาะในป่าที่ราบต่ำติดกับชายฝั่งทะเล ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่พบนกเงือกชนิดนี้เป็นตอนบนสุด มีพฤติกรรมหากินเหนือเรือนยอดไม้ มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ เคยมีการพบอยู่เป็นฝูงจำนวนมากถึง 20 ตัว วงจรชีวิตของนกเงือกปากย่นเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก มักใช้ต้นตะเคียน หรือต้นชมพู่ดง เป็นสถานที่ทำรัง ระยะเวลาการทำรังอยู่ที่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีเสียงร้องแตกต่างกันเป็น 3 แบบ คือ เสียงร้องตามปกติ, เสียงร้องในขณะบิน และเสียงร้องเวลาตกใจเป็นนกเงือกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเช่นเดียวกับเงือกชนิดอื่น ๆ[2] [3]