สำหรับประเทศไทย ของ นกแก๊ก

นกแก๊ก เป็นนกประจำถิ่นที่พบค่อนข้างบ่อย ทุกภาคของประเทศไทย (ยกเว้นภาคกลาง และ ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รวมทั้งเกาะชายฝั่งต่างๆด้วย เช่น เกาะสมุย เกาะเสม็ด เกาะไหง เกาะนาคาน้อย เกาะตะรุเตา ในประเทศไทย พบทั้ง 2 ชนิดย่อย ซึ่งมีการแพร่กระจายต่อเนื่องกัน โดย ชนิดย่อยพันธุ์เหนือ (A. a. albirostris) จะพบทั่วไป ยกเว้นทางใต้สุดของไทย ส่วน นกแก๊กพันธุ์ใต้ (A.a. convexus) ส่วนมากจะพบทางใต้สุดติดกับ ชายแดนมาเลเซียทางคาบสมุทร มาลายู และ ตามเกาะต่างๆของไทย ที่มีป่าดิบชื้นภายในเกาะ โดยทั่วไป นกแก๊ก จะพบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าผสมผลัดใบ และ ป่าชั้นรอง ตั้งแต่ป่าในที่ราบ ไปจนถึงป่าดิบเขาในระดับความสูง 1,400 เมตร แต่จะพบในป่าโปร่ง และ ชายป่าได้บ่อยกว่า นกเงือกชนิดอื่นๆ,ในภาคใต้พบตามป่าที่ราบต่ำ สองฝั่งลำน้ำ และ ลำธารในป่า ป่าชายฝั่งทะเล และ ป่าตามเกาะขนาดใหญ่ด้วย นกเงือกทุกชนิดไม่แต่ นกแก๊ก มีบทบาทสำคัญต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ของป่าดิบเมืองร้อน โดยมีบทบาท เด่นชัดในการเป็นผู้แพร่กระจาย เมล็ดพันธุ์ไม้และช่วยควบคุมประชากรสัตว์เล็ก ในฐานะผู้ล่า ในบางประเทศ นักพฤกษศาสตร์ ได้ศึกษา ป่าที่นกเงือกหายไป พบว่าต้นไม้บางชนิด เริ่มลดลง เพราะไม่มีนกเงือก ช่วยกระจายพันธุ์ป่าใกล้กรุงเทพฯ ที่หาดู นกแก๊ก ได้ค่อนข้างง่าย และ ไม่ตื่นคน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานฯแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์ฯ ห้วยขาแข้ง และเกาะนาคาน้อย โดยมองหาต้นไม้จำพวกไทร และ มะเดื่อ ที่มีผลไม้สุกก็จะพบได้โดยง่าย