นคราภิวัฒน์
นคราภิวัฒน์

นคราภิวัฒน์

นคราภิวัฒน์ หรือ การกลายเป็นนคร, การกลายเป็นเมือง (อังกฤษ: Urbanisation หรือ Urbanization) หมายถึงการโยกย้ายประชากรจากพื้นที่ชนบทมายังพื้นที่เมือง การค่อย ๆ เพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เมือง และวิธีทางที่สังคมปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้[1] นคราภิวัฒน์ถือเป็นขั้นตอนเด่นที่เมืองนั้นเกิดขึ้นและขยายตัวตามจำนวนผู้คนที่เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลาง[2] ถึงแม้แนวคิดทั้งสองแบบนี้สามารถใช้แทนที่กันได้ การนคราภิวัฒน์นั้นแตกต่างจากการเจริญเติบโตของเมือง (Urban growth) เพราะการนคราภิวัฒน์คือ “สัดส่วนของประชากรในชาติที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่กำหนดว่าเป็นเขตเมือง” ("the proportion of the total national population living in areas classed as urban") ในขณะที่การเจริญเติบโตของเมืองหมายถึง “จำนวนผู้คนสัมบูรณ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดว่าเป็นเขตเมือง” ("the absolute number of people living in areas classed as urban")[3] องค์การสหประชาชาติระบุว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะอาศัยในเขตเมืองภายในสิ้นปี 2008[4] มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ประมาณ 64% ของประเทศกำลังพัฒนา และ 86% ของประเทศพัฒนาแล้วจะกลายเป็นเขตมืองจากกระบวนการนคราภิวัฒน์[5] มีค่าเทียบเท่ากับ 3 พันล้านชาวนคร (urbanites) ภายในปี 2050 ส่วนมากจะเกิดข้นในแอฟิกาและเอเชีย[6]นคราภิวัฒน์นั้นเกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลายส่วน รวมถึงการออกแบบผังเมือง ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ สถาปัตยกรรม เศรษฐกิจ และการสาธารณสุข ปรากฏการณ์นี้ถือว่าเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการทำให้ทันสมัย (Modernisation) การปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (Industrialisation) และการบวนการหาเหตุผล (Rationalisation) ในเชิงสังคมศาสตร์[7]ในปัจจุบัน กลุ่มเมืองนคร (Urban agglomerations) ในเอเชียทั้ง โอซากะ, โตเกียว, กวางโจว, การาจี, จาการ์ตา, มุมไบ, เซี่ยงไฮ้, มะนิลา, โซล และปักกิ่ง ล้วนมีประชากรมากกว่า 20 ล้านคน ในขณะที่เดลี มีการคาดการณ์ว่าจะมีประชากรเกิน 40 ล้านคนในปี 2035[8] ส่วนเมืองเช่น เตหะราน, อิสตันบูล, เม็กซิโกซิตี, เซาเปาโล, ลอนดอน, มอสโก, นิวยอร์กซิตี, เลกอส, ลอสแอนเจลิส และไคโร ล้วนมี หรือกำลังจะมีประชากรเกิน 15 ล้านคน