นาฏยศาลา_หุ่นละครเล็ก
นาฏยศาลา_หุ่นละครเล็ก

นาฏยศาลา_หุ่นละครเล็ก

โจหลุยส์ หรือ นาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก เป็นคณะการแสดงละครเล็ก หรือ หุ่นกระบอกของอาจารย์สาคร ยังเขียวสด หรือ "โจหลุยส์" และครอบครัว ได้จัดให้มีการแสดงต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงและการทำหุ่นของไทย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานชื่อโรงละครโจหลุยส์ว่า “นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก” และได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ "มูลนิธินาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก"[1]ครูสาคร เกิดเมื่อพ.ศ. 2465 ที่มาของชื่อ โจหลุยส์ นั้นเพราะสมัยเด็ก ครูสาครป่วยหนักบิดามารดาจึงยกให้เป็นลูกพระ ตั้งชื่อให้ว่า หลิว เป็นการแก้เคล็ด เมื่อโตขึ้นได้ฝึกหัดโขน ละคร และลิเก จนเติบโตได้ออกแสดงตระเวนไปกับบิดา ซึ่งครูสาครนิยมแสดงเป็นตัวตลก และมีการเรียกชื่อเพี้ยนจาก "หลิว" เป็น "หลุยส์" ต่อมามีผู้มาเติมเป็น "โจหลุยส์" เหมือนชื่อนักมวยแชมป์โลกในขณะนั้น ต่อมานำชื่อ โจหลุยส์ มาตั้งเป็นชื่อโรงละคร ที่เป็นคณะแสดงหุ่นละครกับสมาชิกครอบครัวว่า "โจหลุยส์เธียเตอร์"โรงละครของคณะโจหลุยส์ (โจหลุยส์เธียเตอร์)เดิมตั้งอยู่ในบริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์ โดยประสบปัญหาด้านการเงินอยู่หลายครั้ง แต่ก็ได้รับการอนุเคราะห์จากชาวไทยที่มีจิตใจอนุรักษ์บริจาคเงินช่วยเหลือ และเข้าชมการแสดงจนสามารถรอดพ้นวิกฤตมาได้ทุก ๆ ครั้ง และหุ่นละครเล็กได้รับรางวัลชนะเลิศการแสดงชุดประกวดหุ่นโลก เมื่อวันที่ 26-28 พฤษภาคม พ.ศ.2549หลังจากสวนลุมไนท์บาซาร์ หมดสัญญาเช่า คณะโจหลุยส์ได้รับความอนุเคราะห์จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ให้เปิดการแสดงและถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาในรายวิชาของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ต่อมาทางคณะได้ย้ายโรงละครถาวรไปยังเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ถนนเจริญกรุง