ภาคใต้ ของ นาฏศิลป์

ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคลิกบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด การแต่งกาย การแสดง เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก นาฏศิลป์ของชาวไทยภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือการแสดงพื้นบ้านและระบำพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน สามารถแบ่งออกออกตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้

  1. พื้นที่ ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ โนรา เพลงบอก เพลงเรือ คำตัก เพลงชาน้อง
  2. พื้นที่ ภาคใต้บริเวณลุ่มนำทะเลสาบสงขลา ได้แก่ โนรา หนังตะลุง กาหลอ โต๊ะครึม (นายลิมนต์) เพลงเรือ
  3. พื้นที่ ชายฝั่งทะเลอันดามัน ลิเกป่า รองเง็งชาวเล รองเง็งตันหยง กาบง กาหยง ดาระ
  4. พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง รองเง็งปัตตานี ลิเกฮูลู ซีละ มะโย่ง (บือดีกา) บานอ กรือโต๊ะ ตือตรี

ส่วนระบำพื้นบ้าน ได้แก่ ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง เป็นต้น