คุณค่า ของ นาฏศิลป์ภาคใต้

โนราเป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ ซึ่งมีมาแต่โบราณ และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย นิยมเล่นกันมากทั่วภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดพัทลุงนิยมเล่นโนราไม่แพ้หนังตะลุงบรมครูโนราที่ชาวภาคใต้และชาวพัทลุงยกย่อง และรู้จักเป็นอย่างดี คือ ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่มเทวา) ก็เป็นชาวอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงปัจจุบันแม้ว่าโนราไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างในอดีต แต่โนราก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่กลุ่มชนพื้นบ้านได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของชีวิตและสังคม โนราจึงมีความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาช้านาน ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและความเป็นไปของสังคมไว้เกือบทุกแง่ทุกมุม เพราะนอกจากโนราจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นสื่อบันเทิงแล้ว ยังมีบทบาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวบ้านอีกด้วย ฉะนั้นวิถีชีวิตของชาวบ้านจึงมีความเกี่ยวข้องกับโนราอย่างแยกไม่ออก ที่น่าอัศจรรย์ คือ ท่ารำของโนราห์ มีส่วนใกล้เคียงกับ ท่ารำโมงครุ่ม ในพิธีพราหมณ์ ท่าฤๅษีดัดตนและท่าไหว้ครูรำมวยไทย จึงพออนุมานได้ว่าศิลปะพื้นบ้านแขนงนี้ได้มีการประสมประสานกันกับพิธีกรรม ความเชื่อ ของชนชาวสยามมาแต่โบราณ

ใกล้เคียง

นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ล้านนา นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชา นาฏศิลป์ในประเทศลาว นาฏศิลป์ภาคใต้ นาศิก นาศิร อัลเคาะลัยฟี รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ รายนามศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร นาศิร อัชชัมรอนี