ประวัติ ของ นายวรการบัญชา_(บุญเกิด_สุตันตานนท์)

พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นบุตรคนแรกใน 4 คนของ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน โดยมีพี่น้อง ดังนี้

  • นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันนานนท์)
  • นางเฉลิม บุษบรรณ
  • นางฉลอง สารสิทธิประกาศ
  • นางฉลวย ณ ลำพูน

พันเอก นายวรการบัญชา ได้ทำการสมรส 3 ครั้ง ได้แก่

  • คุณหญิงฉวี วรการบัญชา (ฉวี บุญราศรี)
    • ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน
  • นางจันทร์ฟอง วรการบัญชา มีบุตรธิดาดังนี้
    • ร.ต.ต.บัณฑิต สุตันตานนท์
    • นางกิ่งแก้ว ณ เชียงใหม่
    • นายธีระ สุตันตานนท์
  • นางคำเอ้ย วรการบัญชา มีบุตรดังนี้
    • นายเมธี สุตันตานนท์

พันเอก นายวรการบัญชา มีบุตรบุญธรรมคนหนึ่งคือ นางวันดี ณ เชียงใหม่ (สมรสกับ เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่)

วัยเด็ก

นายบุญเกิด สุตันตานนท์ เกิดที่บ้านริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเรียนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพมหานคร มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสอบไล่ได้ที่ 3 เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ขณะอายุ 15 ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เบิกตัวเข้าเฝ้าฯ และมีพระกระแสรับสั่งแต่งตั้งให้เป็น "นายรองสนิท" ตำแหน่งมหาดเล็กห้องที่พระบรรทม เมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยทรงมอบหมายให้อยู่ในความอุปการะอบรมเลี้ยงดูและเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) ต่อมามีพระราชดำริให้ส่งตัวไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2464 ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 พันเอก นายวรการบัญชา จึงเดินทางกลับมาภูมิลำเนาเดิมพักอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงใหม่

งานการเมือง

เมื่อกลับมาอยู่เชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากพระพิจิตรโอสถผู้เป็นบิดาให้ดูแลไร่นาและเก็บผลประโยชน์ที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างนั้นได้ศึกษากฎหมายจนจบเนติบัณฑิต ด้านชื่อเสียงในสังคมได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2479พ.ศ. 2480 ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายหลายสมัย และได้เข้าร่วมตำแหน่งสำคัญ ๆ ในคณะรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม[2] หลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2490 ด้วยการร่วมในการรัฐประหารด้วย โดยบุคคลในคณะรัฐประหารเรียก พันเอก นายวรการบัญชาอย่างเคารพว่า "พี่วร"

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงเช่น รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีสั่งการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[3], รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[4], รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[5][6] ต่อมาได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและเคยเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย

ในเหตุการณ์ กบฏแมนฮัตตัน วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น.นายวรการบัญชา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึก ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี[7] โดยผ่านพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร นับว่าเป็นบุคคลแรกที่รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ การใช้กฎอัยการศึกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในเวลาต่อมาคือในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2495 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พันเอก นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษแก่ นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)[8]

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[9] เดือนธันวาคมของปีเดียวกัน[10]

ใกล้เคียง

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) นายวรกิจบรรหาร (ประยงค์ ภมรมนตรี) นายวรการบัญชา นายกรัฐมนตรีไทย นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายกรัฐมนตรีเยอรมนี นายกรัฐมนตรีแคนาดา

แหล่งที่มา

WikiPedia: นายวรการบัญชา_(บุญเกิด_สุตันตานนท์) http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/v... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/... http://www.cabinet.thaigov.go.th/cab_26.htm