นโยบายสาธารณะ

นโยบายสาธารณะ (อังกฤษ: public policy) หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง นิยาม[1]1.สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ 2.กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐจัดทำขึ้นเช่น การจัดการบริการสาธารณะ (public services),การจัดทำสินค้าสาธารณะ (public goods),การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย3.แนวทางปฏิบัติบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือแนวทางที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา4.ความคิดของรัฐที่กำหนดว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างไร เพียงไร เมื่อไร5.แนวทางกว้าง ๆ ที่รัฐบาล (ไม่ว่าจะระดับใด) กำหนดขึ้นเพื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ตามมาเมื่อใช้หลักในการทางกฎหมายมหาชนเป็นเกณฑ์ในการจำแนกรูปแบบของนโยบายสาธารณะเราสามารถจำแนกรูปแบบของนโยบายสาธารณะออกเป็น 4 รูปแบบ[2] ได้แก่ นโยบายสาธารณะที่แสดงเป็นรูปแบบกฎหมาย นโยบายสาธารณะที่แสดงออกในรูปแบบของการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นโยบายสาธารณะที่เป็นมติคณะรัฐมนตรี และในรูปแบบของแผนงานหรือโครงการที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ไม่ควรถือเอา “รัฐธรรมนูญ” เป็นการกำหนดนโยบายสาธารณะประเภทหนึ่ง เนื่องจากถือเป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติไม่สามารถเลือกที่จะ “ไม่กระทำ” ตามหลักนโยบายสาธารณะได้ กรณีที่รัฐเลือกที่จะไม่กระทำตามรัฐธรรมนูญจึงมีกรณีเดียวคือการที่ประชาชนหรือผู้แทนประชาชนเห็นพ้องร่วมกันอย่างเป็นทางการ (Consensus decision-making) ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตราใดไม่สอดคล้องกับเจตจำนงแห่งรัฐที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเสนอให้ทำการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เข้ากับเจตจำนงดังกล่าวและปฏิบัติตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญต่อไป

ใกล้เคียง

นโยบายการขอรับลงตราของประเทศไทย นโยบายไวต์ออสเตรเลีย นโยบายพลังงานแห่งชาติปากีสถาน นโยบายสาธารณะ นโยบายการเงิน นโยบายการขอรับลงตราของประเทศลาว นโยบายต่างประเทศของอิหร่าน นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายจีนเดียว นโยบายการคลัง