การคงสภาพฟอสซิลพืช ของ บรรพพฤกษศาสตร์

ฟอสซิลพืชถูกคงสภาพในหลายวิธี แต่ละวิธีจะบ่งบอกถึงข้อมูลพืชต้นทางต่างกัน โดยประเภทของการคงสภาพฟอสซิลพืช ได้แก่

  • แบบกดทับ (adpressions) เป็นประเภทที่พบได้ทั่วไป ฟอสซิลประเภทนี้จะให้รายละเอียดทางสัณฐานวิทยาที่ดี โดยเฉพาะส่วนของพืชที่มีด้านบน-ด้านล่างต่างกัน เช่น ใบ หากผิวเคลือบคิวทินถูกรักษาไว้จะทราบถึงรายละเอียดของอีพิเดอร์มิสของพืช
  • แบบกลายเป็นหิน (petrifactions) จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกายวิภาคของเซลล์เนื้อเยื่อพืชที่ละเอียด แบบกลายเป็นหินให้ข้อมูลทางสัณฐานวิทยาเช่นกัน แต่ต้องใช้การตัดเรียงลำดับ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยากและใช้เวลานาน
  • แบบพิมพ์หล่อ (moulds and casts) ฟอสซิลประเภทนี้มักคงสภาพส่วนที่แข็งของพืช เช่น ลำต้น เมล็ด มักให้ข้อมูลแบบสามมิติ ในกรณีที่เป็นซากลำต้นจะให้รายละเอียดความหนาแน่นของพืชต้นทาง อย่างไรก็ตามฟอสซิลประเภทนี้มักไม่คงรายละเอียดทางสัณฐานวิทยาหรือกายวิภาคของเซลล์
  • แบบกลายเป็นแร่เกิดกับที่ (authigenic mineralisations) ฟอสซิลประเภทนี้มักให้ข้อมูลทางสัณฐานวิทยาแบบสามมิติที่ละเอียดมาก และมีความสำคัญต่อการศึกษาโครงสร้างสืบพันธุ์ซึ่งในแบบกดทับจะพบผิดรูป อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีลักษณะเป็นก้อนแร่ จะไม่ค่อยพบเป็นชิ้นขนาดใหญ่
  • แบบฟิวเซน (fusain) ฟอสซิลประเภทนี้มีลักษณะเป็นถ่านจากการถูกไฟเผา ซึ่งจะให้รายละเอียดทางสัณฐานวิทยาที่ดี ฟอสซิลของดอกไม้ยุคแรก ๆ พบเป็นแบบฟิวเซน

แหล่งที่มา

WikiPedia: บรรพพฤกษศาสตร์ http://www.encyclopedia.com/science/dictionaries-t... http://www.ucmp.berkeley.edu/devonian/devonian.php //doi.org/10.1038%2F19516 //doi.org/10.1038%2Fnature01884 http://eprints.whiterose.ac.uk/106/1/wellmanch1.pd... https://www.livescience.com/29231-cretaceous-perio... https://www.livescience.com/43514-silurian-period.... https://www.merriam-webster.com/dictionary/paleobo... https://archive.org/details/historypalaeobot00bure... https://archive.org/details/historypalaeobot00bure...