นิยามของบรอดแบนด์ ของ บรอดแบนด์ไร้สาย

บรอดแบนด์กลายเป็นวลีทางการตลาดที่นิยมกันมากสำหรับบริษัทโทรศัพท์และเคเบิลทีวีที่จะขายผลิตภัณฑ์รับส่งข้อมูลอัตราควาเร็วสูงในราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ ปี 2009 ของสหรัฐอเมริกา มันถูกกำหนดให้เป็น "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาและเร็วกว่าการเข้าถึงทั่วไปแบบ Dial-Up". หน่วยงานเดียวกันได้กำหนดนิยามนี้แตกต่างกันไปตลอดทั้งปี.

ตัวอย่างเครือข่ายไร้สาย ผู้ใช้จะติดต่อผ่าน access point หรือ remote router เข้าไปที่ WISP เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต

ตามมาตรฐาน 802.16-2004 บรอดแบนด์หมายถึง "ที่มีแบนด์วิดท์ที่เร็วมากกว่า 1 MHz และสนับสนุนอัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่า 1.5 Mbit/s.โดยประมาณ"

นิยามของ broadband โดย สวทช [1] คือ

"เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่สามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากผ่านสื่อใช้สาย เช่น เคเบิลใยแก้วนำแสง สายเคเบิลทีวี สายโทรศัพท์ (DSL) หรือสื่อไร้สายเช่น 3G, 4G/LTE และ WiMAX โดยความเร็วของการรับส่งข้อมูลตามที่กรอบนโยบาย ICT 2020 กำหนดนั้นจะอยู่ที่ 768 กิโลบิตต่อวินาทีซึ่งเป็นความเร็วขั้นต่ำ ไปจนถึง 100 ล้านบิตต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งเป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก หรือ Ultra Broadbandอนึ่ง กรอบนโยบาย ICT 2020 นี้อ้างอิง ชั้นความเร็วของการรับส่งข้อมูล (Broadband Speed Tiers) ตามที่ Feral Communications Commission แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 กลุ่ม (Tiers) ได้แก่
1st Generation Data - 200 kbps to 768 kbps
Basic Broadband Tiers 1 - 768 kbps to 1.5 Mbps
Broadband Tiers 2 - 1.5 Mbps to 3 Mbps
Broadband Tiers 3 - 3 Mbps to 6 Mbps
Broadband Tiers 4 - 6 Mbps to 10 Mbps
Broadband Tiers 5 - 10 Mbps to 25 Mbps
Broadband Tiers 6 - 25 Mbps to 3 Mbps
Broadband Tiers 7 - Greater to 100 Mbps
[เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ]"