ผู้มีสิทธิเข้ารับการรักษา ของ บริการสุขภาพแห่งชาติ

ทุกบุคคลที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรสามารถใช้บริการของเอ็นเอชเอสได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการเต็มจำนวน อย่างไรก็ตาม มีทันตกรรมเอ็นเอชเอส และบริการจักษุแพทย์ที่เรียกค่าบริการตามมาตรฐานที่ตั้งไว้แตกต่างกันไปตามสี่ระบบของสี่ประเทศ[12] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องจ่ายค่ายาเอง ยกเว้นเพียงบางส่วนเท่านั้น[5]

อะไนริน เบวัน เขียนเกี่ยวกับการครอบคลุมระบบเอ็นเอชเอสถึงผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศมายังสหราชอาณาจักรไว้ในปี 1952 ว่า "ดูจะเป็นการไม่ฉลาดและใจแคบที่จะสงวนบริการไม่เสียค่าใช้จ่ายนี้ไว้ไม่ให้ผู้เดินทางมาบริเตนได้รับบริการ เราจะแยกผู้เดินทางเข้ามาออกจากทุกคนอย่างไรเล่า? พบเมืองบริเตนทุกคนต้องพกบัตรประชาชนติดตัวไปตลอดทุกที่ที่ไป เพื่อพิสูจน์ว่าตนไม่ใช่ผู้เดินทางมาบริเตนงั้นหรือ? ถ้าจะแยกแพะกับแกะออกจากกัน ทั้งคู่ [ทั้งแพะและแกะ] ก็ต้องระบุตัวตนของตนเองไว้ด้วย ความพยายามที่เริ่มต้นเป็นการเก็บเอ็นเอชเอสไว้กับแค่พวกเรา ในภายหลังจะกลายมาเป็นเหตุรำคาญใจสำหรับทุก ๆ คนแทน"[13]

การขยายสิทธิรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไปยังบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองสหราชอาณาจักรถูกจำกัดอย่างมาก และมีข้อกำหนดควบคุมการเก็บค่าบริการสุขภาพของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศประกาศใช้ใหม่ในปี 2015[14]

ใกล้เคียง

บริการสุขภาพในประเทศอิสราเอล บริการสุขภาพในประเทศไทย บริการเครือข่ายสังคม บริการสุขภาพในประเทศจีน บริการสาธารณะ บริการสุขภาพในประเทศอินเดีย บริการการแพทย์ฉุกเฉิน บริการสุขภาพแห่งชาติ บริการสุขภาพในสหราชอาณาจักร บริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: บริการสุขภาพแห่งชาติ http://online.hscni.net/ http://www.hsj.co.uk/hsj-knowledge/commissions-and... http://www.nhs.uk/NHSEngland/thenhs/about/Pages/nh... https://www.bbc.com/news/health-42572110 https://www.newstatesman.com/politics/uk/2019/06/u... https://www.theguardian.com/society/2016/jan/18/10... https://aleph.nkp.cz/F/?func=find-c&local_base=aut... https://www.politico.eu/article/us-takes-aim-at-th... https://id.loc.gov/authorities/names/n92051836 https://isni.org/isni/0000000114988986