ความสำคัญในปัจจุบัน ของ บริเวณบรอดมันน์

เป็นระยะเวลาเป็นศตวรรษที่มีการสนทนาและอภิปรายถึงเขตบร็อดแมนน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน และการกำหนดเขตและชื่อก็ได้รับการปรับปรุงมาโดยตลอด เขตบร็อดแมนน์ยังเป็นการจัดระบบโดย cytoarchitectonics ของเปลือกสมองมนุษย์ ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและอ้างอิงถึงมากที่สุด

จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เขตบร็อดแมนน์ต่าง ๆ ที่กำหนดขอบเขตโดยระเบียบของเซลล์ประสาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าทำกิจหน้าที่ต่าง ๆ มากมายของสมอง ยกตัวอย่างเช่น เขตบร็อดแมนน์ 1-2-3 ก็คือ คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เขต 4 ก็คือ คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) เขต 17 ก็คือ คอร์เทกซ์การเห็นปฐมภูมิ (primary visual cortex) และเขต 41-42 ก็เกือบจะเหมือนคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex)

นอกจากนั้นแล้ว กิจหน้าที่ระดับสูง ๆ ยิ่งขึ้นไปของเขตสัมพันธ์ในเปลือกสมอง ก็ยังปรากฏว่ามีเขตจำกัดอยู่ในเขตที่บร็อดแมนน์กำหนดไว้นั้นแหละ ปรากฏโดยใช้วิธีต่าง ๆ รวมทั้ง เทคนิคทางประสาทสรีรวิทยา fMRI และวิธีอื่น ๆ. ตัวอย่างเช่น เขตโบรคา ซึ่งเป็นเขตทางการพูดและภาษา ก็จำกัดอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 44-45 ถึงแม้กระนั้น การสร้างภาพโดยกิจ (functional imaging) ก็สามารถเพียงแค่บ่งชี้ตำแหน่งอย่างคร่าว ๆ ของการทำงานในสมองโดยสัมพันธ์กับเขตบร็อดแมนน์ได้เท่านั้น เพราะว่า ขอบเขตจริง ๆ ของเขตสมองต่าง ๆ ต้องอาศัยการตรวจสอบโดยอ้างอิงวิทยาเนื้อเยื่อ

ใกล้เคียง

บริเวณบรอดมันน์ บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณกลางโบสถ์ บริเวณความกดอากาศต่ำ บริเวณแห้งแล้ง บริเวณร้องเพลงสวด บริเวณเวอร์นิเก บริเวณคริสต์ศาสนพิธี บริเวณเอช 2 บริเวณปาเลสไตน์

แหล่งที่มา

WikiPedia: บริเวณบรอดมันน์ http://www.image-maps.com/index.php?aff=mapped_use... http://www.image-maps.com/index.php?aff=mapped_use... http://spot.colorado.edu/~dubin/talks/brodmann/bro... http://www.trincoll.edu/~dlloyd/brodmann.html http://braininfo.rprc.washington.edu/ShowItHier.as... http://braininfo.rprc.washington.edu/indexotheratl... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3624554 //doi.org/10.1002%2Fcne.902620207 http://ukpmc.ac.uk/articles/PMC2268639;jsessionid=... https://commons.wikimedia.org/wiki/Brodmann_areas?...