ประวัติความเป็นมา ของ บลูทูธพลังงานต่ำ

ในปี 2001, นักวิจัยของบริษัทโนเกียระบุว่ามีสถานการณ์ต่างๆ ที่เทคโนโลยีไร้สายสมัยปัจจุบันยังไม่ได้พิจารณา เพิ่อการพิจารณาหาปัญหาเหล่านี้ศูนย์วิจัยโนเกีย (Nokia Research Center[8]) จึงเริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายที่ดัดแปลงมาจากมาตรฐานบลูทูธ ซึ่งมีอัตราการใช้พลังงานและราคาที่ลดลง พร้อมกับมีความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีบลูทูธกับเทคโนโลยีใหม่น้อยที่สุด ผลที่ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 2004 โดยใช้ชื่อว่าส่วนขยายโลว์เอนด์สำหรับบลูทูธ[9] หลังจากที่การพัฒนาได้ดำเนินต่อโดยร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เช่นโครงการ Mimosa ภายใต้แผน FP6 ของสหภาพยุโรป เทคโนโลยีนี้จึงได้รับการเปิดตัวต่อสาธารณชนในเดือนตุลาคม 2006 โดยใช้ชื่อการค้า Wibree[10] หลังจากการเจรจากับภาคี Bluetooth SIG, ในเดือนมิถุนายนปี 2007 จึงบรรลุข้อตกลงที่จะนำเอา Wibree เข้ารวมไว้ในข้อกำหนดบลูทูธในอนาคตโดยใช้ชื่อว่าเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำพิเศษ (Bluetooth ultra-low-power) หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันในชื่อว่า เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำ[11][12]

ในเดือนธันวาคม 2009 Bluetooth SIG ประกาศการยอมรับเทคโนโลยีไร้สายบลูทูธพลังงานต่ำเข้าป็นคุณสมบัติชูโรงในข้อกำหนดหลักของบลูทูธรุ่น 4.0 (Bluetooth Core Specification Version 4.0) ตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจวัดที่ใช้งานข้อกำหนดดังกล่าวนั้นพบได้ทุกวันนี้จากผู้ผลิตชิปซิลิกอน และคาดว่าจะมีสินค้าปรากฏให้เห็นได้เร็วๆ นี้

การรวมเอาเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำเข้าไว้ในข้อกำหนดหลักจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2010 และเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์บลูทูธพลังงานต่ำก่อนสิ้นปี เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นลง ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอาจเพิ่มคุณสมบัติผลิตภัณฑ์บลูทูธของตนให้สนับสนุนเทคโนโลยีบลูทูธไร้สาย คาดว่าอุปกรณ์สำหรับผู้ใช้งานปลายทางที่มีเทคโนโลยีบลูทูธ 4.0 จะเริ่มมีวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 2010 หรือต้นปี 2011

สถานการณ์จริง

ข้อกำหนดบลูทูธพลังงานต่ำจะได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดหลักบลูทูธรุ่น 4.0[13] ขั้นตอนจริงในข้อกำหนดจะมีการรวมเอาคุณสมบัติทางเลือกบางข้อเอาไว้ ในปัจจุบันไม่มีเอกสารใดที่เผยแพร่สู่สาธารณะที่เปิดเผยว่าคุณสมบัติทางเลือกเหล่านี้ข้อใดบ้างที่จะถูกเลือกนำไปใช้ในการสร้างชิป

บริษัทผู้มีส่วนร่วมในการอนุญาตใช้งานเทคโนโลยีและร่วมมือกันร่างข้อกำหนด ได้แก่ Alpwise, Broadcom Corporation, CSR, Epson, MindTree Nordic Semiconductor และ Texas Instruments บริษัทผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ ได้แก่ Suunto และ Taiyo Yuden[14]

ชิปบลูทูธพลังงานต่ำตัวแรกจากจากบริษัท CSR, Nordic Semiconductor และ Texas Instruments ถูกนำออกวางตลาดแล้วในช่วงปลายปี 2010 และต้นปี 2011 และคาดว่าจะมีชิปบลูทูธพลังงานต่ำจากผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายอื่นๆ ตามมา ทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับบลูทูธพลังงานต่ำชิ้นแรกที่ได้รับการรับรองนั้นมาจากบริษัท RivieraWaves ในปี 2010

ในขณะนี้ (2010-12) คำนิยามของโครงร่างการใช้งานที่เกี่ยวข้องยังเป็นส่วนงานที่ยังไม่ลุล่วงในการกำหนดมาตรฐาน สินค้าผู้บริโภคชิ้นแรกที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำนั้นคาดว่าจะเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2011

ความต้องการของตลาด

Bluetooth SIG มีแนวทางสนองความต้องการของตลาดที่จะให้อัตราใช้พลังงานต่ำและทำให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่น้อยลงไปด้วย การที่ Bluetooth SIG ปี 2007 ให้การยอมรับข้อเสนอ Wibree ของโนเกียปี 2001 ทำให้จำเป็นต้องมีโหมดการทำงานพลังงานต่ำสำหรับอุปกรณ์ที่ออกแบบใหม่ให้สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ Bluetooth อื่นที่ยังไม่มีคุณสมบัตินี้ได้ อย่างไรก็ตามความเข้ากันได้นี้ขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันที่ทำงานในอุปกรณ์บลูทูธที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการทำให้อุปกรณ์สามารถรับข้อมูลที่ส่งด้วยวิธีประหยัดพลังงานผ่านการปรับปรุงซอฟต์แวร์ นอกเหนือจากการตีตลาดสำหรับเซ็นเซอร์ นาฬิกาและอุปกรณ์อื่นที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ความสามารถของเทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำในการเชื่อมต่ออุปกรณ์พลังงานต่ำเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ก็ทำให้เกิดการใช้งานแบบใหม่ๆ ที่หลากหลายอย่างยิ่ง

ข้อได้เปรียบสำคัญได้แก่การที่อุปกรณ์มือถือมีการติดตั้งชิปบลูทูธไว้อยู่แล้วโดยทั่วไป จึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมใดๆ สำหรับเครือข่ายเฉพาะกิจ (ad-hoc) ที่มีทอพอโลยีแบบเพียร์ แบบกระจาย หรือแบบร่างแห วิธีการอื่นที่เทียบเคียงกันได้ในทางเทคนิคซึ่งกำหนดโดยกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ (เช่น Zigbee, ANT) ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานสากล IEEE 802.15.4-2006 ล้วนแสดงแนวทางการนำไปใช้งานที่ต้องขึ้นกับการวางโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม

แหล่งที่มา

WikiPedia: บลูทูธพลังงานต่ำ http://www.alpwise.com/ http://www.bluegiga.com/files/bluegiga/Bluetooth_L... http://www.bluetooth.com/English/Technology/Buildi... http://www.bluetooth.com/English/Technology/Works/... http://www.bluetooth.com/MikesBlog/Lists/Posts/Pos... http://www.bluetooth.com/Pages/Low-Energy.aspx http://www.bluetooth.com/Pages/News-Detail.aspx?It... http://www.broadcom.com/products/Bluetooth/Bluetoo... http://www.csr.com/products/45/csr-energy http://www.electronicsweekly.com/Articles/2007/06/...