ประวัติ ของ บล็อกเชน

จำนวนธุรกรรมต่อวันของบิตคอยน์ (มกราคม 2009 - กันยายน 2017)

งานวิจัยแรกที่ได้อธิบายโซ่บล็อกที่ทำให้ปลอดภัยด้วยวิทยาการรหัสลับได้ตีพิมพ์ในปี 1991 (โดย Stuart Haber และ W. Scott Stornetta)[21][6]ในปีต่อมา นักวิจัยกลุ่มเดียวกันได้รวมต้นไม้แฮช (Merkle tree) เข้าในแบบ ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพเพราะสามารถรวมเอกสารหลายฉบับเข้าเป็นบล็อกเดียวกัน[6][22]

ในปี 2008 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้สร้างแนวคิดในเรื่องบล็อกเชนขึ้นซึ่งนากาโมโตะนำไปทำให้เกิดผลในปีต่อมา โดยเป็นส่วนโปรแกรมหลักของเงินคริปโทคือบิตคอยน์ คือใช้เป็นบัญชีแยกประเภทสาธารณะเพื่อบันทึกธุรกรรมทั้งหมดภายในเครือข่าย[1]บล็อกเชนทำให้บิตคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่งเชื่อใจหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง และได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่โปรแกรมประยุกต์อีกมากมายหลายอย่าง[1][3][4]

ในเดือนสิงหาคม 2014 ไฟล์บล็อกเชนของบิตคอยน์ ซึ่งมีระเบียนของธุรกรรมทั้งหมดที่ได้เกิดขึ้นภายในเครือข่าย ได้ถึงขนาด 20 กิกะไบต์ (GB)[23]ในเดือนมกราคม 2015 ขนาดได้ขยายจนเกือบถึง 30 GB และจากเดือนมกราคม 2016 ถึงมกราคม 2017 ขนาดได้เพิ่มจาก 50 GB จนถึง 100 GBและโดยเดือนเมษายน 2018 นี่ได้ถึงขนาด 163 GB แล้ว[24]

เอกสารดั้งเดิมของนากาโมโตะได้ใช้คำว่า "บล็อก" และ "เชน" ต่างหาก ๆ แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนไปตามความนิยมเป็นคำเดียวคือ "บล็อกเชน" โดยปี 2016ส่วนคำว่า บล็อกเชน 2.0 หมายถึงโปรแกรมใหม่ ๆ ที่ใช้ฐานข้อมูลบล็อกเชนแบบกระจาย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในปี 2014[25] นิตยสาร The Economist ได้กล่าวถึงการใช้บล็อกเชนแบบรุ่นสองนี้ว่ามาพร้อมกับ "ภาษาโปรแกรมที่ให้ผู้ใช้เขียนสัญญาสมารต์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น สร้างใบกำกับสินค้าที่จ่ายเองอย่างอัตโนมัติเมื่อการขนส่งเรียบร้อยแล้ว หรือสร้างใบหุ้นซึ่งส่งเงินปันผลให้เจ้าของโดยอัตโนมัติเมื่อกำไรได้ถึงขีดหนึ่งแล้ว"[1]เทคโนโลยีบล็อกเชน 2.0 ได้ก้าวหน้าเกินกว่าการบันทึกธุรกรรม และทำให้สามารถ "แลกเปลี่ยนมูลค่าโดยไม่ต้องมีคนกลางที่มีอำนาจเป็นผู้ตัดสินในเรื่องเงินและข้อมูล"เป็นเทคโนโลยีที่คาดว่า จะทำให้คนที่อยู่นอกระบบเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกได้ ช่วยป้องกันภาวะเฉพาะส่วนตัวของผู้เข้าร่วม ช่วยทำรายได้ให้เจ้าของข้อมูล และช่วยให้ผู้คิดค้นได้ค่าตอบแทนจากทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยีบล็อกเชนรุ่นสอง ทำให้สามารถเก็บ "บัตรประจำตัวและบุคลิกภาพอย่างถาวร" ของบุคคล และอำนวยการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมโดยเป็นโอกาสเปลี่ยนการกระจายความมั่งมี[26]โดยปี 2016 งานอิมพลิเม้นต์ของบล็อกเชน 2.0 ก็ยังต้องใช้ระบบต่างหากที่จินตนาการได้ว่าเป็น "เครื่องออราเคิล"[upper-alpha 1]เพื่อเข้าถึง "ข้อมูลหรือเหตุการณ์ภายนอกที่ขึ้นอยู่กับเวลาหรือภาวะการตลาดที่ (จำเป็นต้อง) มีปฏิสัมพันธ์กับบล็อกเชน"[27]

ในปี 2016 องค์กรรับฝากหลักทรัพย์ของประเทศรัสเซีย (National Settlement Depository) ได้ประกาศโครงการนำร่องที่อาศัยแพล็ตฟอร์ม Nxt blockchain 2.0 ซึ่งจะสำรวจการใช้บล็อกเชนทำระบบลงคะแนนเสียงอัตโนมัติ[28]ในเดือนกรกฎาคม 2016 บริษัทไอบีเอ็มได้เปิดศูนย์วิจัยนวัตกรรมบล็อกเชนในประเทศสิงคโปร์[29]คณะทำงานของสภาเศรษฐกิจโลกได้ประชุมกันในเดือนพฤศจิกายน 2016 เพื่อหารือเรื่องการพัฒนาวิธีการปกครองที่สัมพันธ์กับบล็อกเชน[30]ตามบริษัทให้คำปรึกษาการจัดการบริหาร Accenture ทฤษฎีการแพร่นวัตกรรม (diffusion of innovations) ได้แสดงว่า เพราะบล็อกเชนได้อัตราการยอมรับที่ 13.5% ภายในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินในปี 2016 ดังนั้น จึงได้เข้าสู่ระยะกลุ่มนำสมัย (early adopter) แล้ว[31]กลุ่มการค้าอุตสหกรรมได้ร่วมกับจัดงานการประชุม Global Blockchain Forum ในปี 2016 ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มขององค์กรสนับสนุนอเมริกัน Chamber of Digital Commerce[32]

ข้อมูลที่ใช้ในเครือข่ายบิตคอยน์

แหล่งที่มา

WikiPedia: บล็อกเชน http://www.computerworld.com.au/article/606253/und... http://www.afr.com/technology/anz-backs-private-bl... http://www.americanbanker.com/bankthink/why-the-bi... http://www.bbc.com/news/technology-41858585 http://www.bbc.com/news/technology-42237162 http://www.businessinsider.com/mastercard-pushes-a... http://www.coindesk.com/abn-amro-blockchain-real-e... http://www.coindesk.com/blockchain-finance-buzzwor... http://www.coindesk.com/estonia-president-world-ec... http://www.coindesk.com/ethereums-new-blockchain-c...