โครงสร้างและการดำเนินการ ของ บล็อกเชน

บล็อกเชนเป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ไม่รวมศูนย์ และกระจาย เพื่อใช้บันทึกธุรกรรมในระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ที่ระเบียนจะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนบล็อกที่สร้างต่อ ๆ มา และไม่ได้รับการร่วมมือจากเครือข่ายโดยมาก[1][33]ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถยืนยันและตรวจสอบธุรกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก[34]

ฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดการอย่างเป็นอิสระโดยเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ซึ่งให้บริการการตราเวลาแบบกระจายและยืนยันพิสูจน์โดยการร่วมมือกันของคนจำนวนมากที่ได้แรงจูงใจจากผลประโยชน์ส่วนตัวรวม ๆ กัน[35]ผลก็คือกระแสงานที่ทนทาน ที่ได้ความมั่นใจสูงจากผู้มีส่วนร่วม

การใช้บล็อกเชนได้แก้ปัญหาการสามารถก๊อปปี้ซ้ำอย่างไม่จำกัดซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลเพราะมันสามารถยืนยันได้ว่า สินทรัพย์แต่ละหน่วยจะเปลี่ยนมือเพียงครั้งเดียว จึงเป็นการแก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) ที่รู้จักกันมานานแล้วจึงได้รับการยกย่องว่า เป็นโพรโทคอลที่ช่วยให้แลกเปลี่ยนมูลค่าทางเศรษฐกิจได้[25]การแลกเปลี่ยนมูลค่าโดยอาศัยบล็อกเชนสามารถเกิดขึ้นได้เร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบธรรมดา[36]

บล็อก

บล็อกจะบันทึกกลุ่มธุรกรรมที่ได้ยืนยันพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง โดยค่าแฮชของธุรกรรมจะบันทึกใส่ต้นไม้แฮช (Merkle tree)[1]แต่ละบล็อกจะมีค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้าในโซ่ ซึ่งเป็นการเชื่อมบล็อกต่อ ๆ กันเป็นโซ่[1]กระบวนการที่ทำวนซ้ำ เป็นการยืนยันความถูกต้องของบล็อกก่อน ๆ จนกระทั่งถึงบล็อกเริ่มต้น[37]

บางครั้ง บล็อกต่างหาก ๆ อาจทำขึ้นพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดข้อมูลที่ไม่ตรงกันเพียงชั่วคราวเพราะนอกจากการมีประวัติที่มั่นคงปลอดภัยเนื่องกับค่าแฮช บล็อกเชนยังกำหนดขั้นตอนวิธีเพื่อคัดเลือกบล็อกสายต่าง ๆ เพื่อให้ได้สายที่มีค่าสูงสุด บล็อกที่ไม่รวมเข้าในโซ่จะเรียกว่าบล็อกกำพร้า (orphan block)[37]สถานีเพียร์ที่สนับสนุนฐานข้อมูลเช่นนี้ จะมีสายประวัติที่ต่างกันเป็นบางครั้งบางคราวเพราะต่างก็เก็บสายประวัติที่มีค่าสูงสุดซึ่งตนรู้เป็นฐานข้อมูลแต่เมื่อได้รับสายประวัติที่มีค่าสูงกว่า (ปกติจะเป็นประวัติที่มีแล้วบวกกับบล็อกใหม่ที่เพิ่งสร้างขึ้น) มันก็จะบันทึกบล็อกใหม่หรือบันทึกโซ่บล็อกที่มีค่าสูงกว่าทับฐานข้อมูลของตน แล้วส่งต่อข้อมูลที่ได้ใหม่ไปยังเพียร์อื่น ๆ

จะไม่มีทางรับประกันได้ว่า บล็อกใหม่ ๆ ที่มีจะเป็นส่วนของสายประวัติที่มีค่าสูงสุดตลอดกาลนาน[38]แต่เพราะบล็อกเชนออกแบบให้เพื่อเพิ่มบล็อกใหม่เข้ากับบล็อกเก่า และเพราะมีแรงจูงใจให้ทำการเพื่อเพิ่มบล็อกใหม่แทนที่จะเปลี่ยนบล็อกเก่า[39]โอกาสที่บล็อกหนึ่ง ๆ จะถูกเปลี่ยนหรือแทนที่จะลดลงแบบเลขชี้กำลัง[40]ตามจำนวนบล็อกใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นต่อบล็อกเก่า ซึ่งในที่สุดก็จะมีโอกาสน้อยมาก ๆ[38][41][1]

ยกตัวอย่างเช่น ในบล็อกเชนที่ใช้ระบบพิสูจน์ว่าได้ทำงาน (proof-of-work)[upper-alpha 2]โซ่ที่มีค่ารวมกันที่พิสูจน์ว่าได้ทำงานสูงสุด ก็จะพิจารณาว่าเป็นโซ่ที่ถูกต้องโดยเครือข่าย

การตราเวลาสำหรับบิตคอยน์

ดูข้อมูลเพิ่มที่หัวข้อลำดับธุรกรรม "การตราเวลา" บล็อกในบิตคอยน์ ตามที่นำเสนอในเอกสารดั้งเดิมของนากาโมะโตะ[42]

"การตราเวลา" (timestamping) ของบล็อกเชนที่ใช้สำหรับบิตคอยน์ เป็นการแก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่งเชื่อใจหรือมีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง[1][3] คือเป็นระบบตราเวลาแบบกระจายที่ใช้เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ เพื่อสร้างค่าพิสูจน์ลำดับของธุรกรรมโดยการคำนวณ และเป็นระบบที่ปลอดภัยตราบที่สถานีที่ซื่อตรงรวม ๆ กันมีกำลังหน่วยประมวลผลกลางมากกว่ากลุ่มสถานีที่ทำการไม่ชอบ[43]

เครือข่ายจะตราเวลาธุรกรรมต่าง ๆ โดยคำนวณค่าแฮชของพวกมัน ต่อเป็นลูกโซ่ค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงาน (proof-of-work)[upper-alpha 2] ให้เป็นโซ่ระเบียนที่เปลี่ยนไม่ได้โดยไม่คำนวณใหม่ซึ่งค่าแฮช/ค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงาน[44]คือสถานีหนึ่ง ๆ จะคำนวณค่าแฮชของบล็อกตามหลักเกณฑ์การพิสูจน์ว่าได้ทำงานของบิตคอยน์ แล้วแพร่ค่าที่ได้ไปยังสถานีอื่น ๆ ค่าแฮช/ค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงานใหม่/ตราเวลาตามที่ว่า จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า ข้อมูลบล็อกจะต้องมีอยู่เพื่อให้คำนวณค่านั้นได้ค่าแฮชที่คำนวณของบล็อกแต่ละบล็อก จะรวมค่าแฮชของบล็อกก่อนเข้าด้วย ซึ่งเชื่อมบล็อกเข้าเป็นลูกโซ่ซึ่งเท่ากับจัดเรียงลำดับธุรกรรมและทำให้บล็อกก่อน ๆ ไม่สามารถเปลี่ยนข้อมูลได้ โดยไม่คำนวณค่าแฮชของบล็อกนั้น ๆ และบล็อกต่อ ๆ มาทั้งหมดด้วย[42]

การคำนวณค่าแฮชหรือค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงาน เป็นการกราดคำนวณหาค่า เช่นด้วยฟังก์ชันแฮช SHA-256 ค่าที่เป็นข้อพิสูจน์ซึ่งใช้ได้จะเริ่มด้วยบิต 0 จำนวนหนึ่ง และการคำนวณโดยเฉลี่ยที่ต้องทำ จะเพิ่มแบบเลขยกกำลังตามจำนวนบิต 0 ที่ต้องการ แต่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยคำนวณค่าแฮชเพียงครั้งเดียวเท่านั้น[42]

การคำนวณค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงานยังเป็นตัวตัดสินด้วยว่า โซ่บล็อกไหนเป็นโซ่ที่สถานีส่วนใหญ่ยอมรับ เพราะโซ่ที่ยาวสุด ซึ่งหมายความว่าเป็นโซ่ที่ต้องใช้ทรัพยากรเพื่อคำนวณค่าแฮชสูงสุด จะเป็นโซ่ที่สถานีส่วนมากมีเห็นความเห็นพ้องยอมรับและถ้าสถานีที่ซื่อตรงต่าง ๆ คุมกำลังหน่วยประมวลผลกลางโดยมาก โซ่ที่ซื่อตรงก็จะงอกเร็วสุด คือเร็วกว่าโซ่อื่น ๆ ที่แข่งขันกันทั้งหมด[42]

เพื่อชดเชยความเร็วของฮาร์แวร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การหาค่าพิสูจน์ว่าได้ทำงานจะปรับให้ยากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีเป้าหมายให้สามารถคำนวณค่าแฮชได้จำนวนจำกัดต่อ ชม.[42] (10 นาทีต่อบล็อก[18][19])

ให้สังเกตว่า ในส่วนหัวของแต่ละบล็อก จะมีเขตข้อมูลที่เรียกว่า "Timestamp" (ตราเวลา) ซึ่งนิยามว่า เป็นเวลาโดยประมาณเมื่อสร้างบล็อกนั้น ๆ โดยเป็นจำนวนวินาทีจากต้นยุคอ้างอิงของยูนิกซ์ซึ่งชัดเจนว่า เป็นคนละค่ากับค่าแฮชของบล็อกนี้ และค่าแฮชของบล็อกก่อนซึ่งเก็บในเขตข้อมูลที่เรียกว่า "Previous Block Hash" ของบล็อกนี้[7]

เวลาสร้างบล็อกเฉลี่ย (Block time)

เวลาสร้างบล็อกเฉลี่ย (block time) ก็คือเวลาเฉลี่ยที่เครือข่ายใช้ในการสร้างบล็อกใหม่ต่อกับโซ่[45]บล็อกเชนบางอย่างจะสร้างบล็อกใหม่บ่อยจนถึงทุก ๆ 5 วินาที[46]เมื่อการสร้างบล็อกสำเร็จแล้ว ข้อมูลที่เพิ่มก็จะสามารถยืนยันพิสูจน์ได้ในระบบเงินคริปโท เวลาสร้างบล็อกเฉลี่ยที่น้อยกว่าจึงหมายความว่าสามารถทำธุรกรรมได้เสร็จเร็วกว่า แต่ก็จะอาจทำให้เกิดการแบ่งโซ่ชั่วคราวบ่อยกว่า[47]เวลาสร้างบล็อกเฉลี่ยของเงินคริปโทสกุล Ethereum ตั้งที่ 14-15 วินาที เทียบกับบิตคอยน์ที่ 10 นาที[19]

การแบ่งโซ่ถาวร

hard fork (การแบ่งโซ่ถาวร) หมายถึงการเปลี่ยนกฎ โดยที่ซอฟต์แวร์ที่ยืนยันความถูกต้องของบล็อกด้วยกฎเก่า จะเห็นบล็อกใหม่ที่สร้างด้วยกฎใหม่ว่า ไม่ถูกต้องดังนั้นในกรณีนี้ สถานีทั้งหมดที่จะทำงานตามกฎใหม่จะต้องอั๊ปเกรดซอฟต์แวร์ที่ใช้[48]แต่ถ้ามีกลุ่มสถานีที่ยังใช้ซอฟต์แวร์เก่า โดยสถานีอื่นได้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ ก็จะเกิดการแยกจากกัน

ยกตัวอย่างเช่น Ethereum ได้เปลี่ยนกฎเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ลงทุนในองค์กร The DAO ซึ่งถูกแฮ๊ก[49]ในกรณีนี้ การเปลี่ยนกฎได้แยกโซ่เงินสกุลนี้ออกเป็น Ethereum และ Ethereum Classic

ในปี 2014 ชุมชนเงินคริปโท Nxt ได้พิจารณาการแก้คืนระเบียนบล็อกเชนเพื่อแก้ปัญหาการขโมย 50 ล้านเหรียญ NXT จากตลาดแลกเปลี่ยนเงินคริปโทขนาดใหญ่แห่งหนึ่งแต่ข้อเสนอนี้ก็ไม่ผ่าน แม้หลังจากนั้น เงินบางส่วนก็ได้คืนหลังจากการเจรจาต่อรองและการจ่ายเงินเรียกค่าไถ่[50]

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันการแบ่งแยกแบบถาวร สถานีส่วนมากที่ใช้ซอฟต์แวร์ใหม่สามารถกลับมาใช้กฎเก่า ดังที่เกิดกับบิตคอยน์เมื่อแยกโซ่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2013[51]

การไม่รวมศูนย์

เพราะเก็บข้อมูลในเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ บล็อกเชนได้กำจัดความเสี่ยงจำนวนหนึ่งที่เกิดจากการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์[1]บล็อกเชนที่ไม่รวมศูนย์ อาจใช้การส่งข้อความแบบเฉพาะกิจ (ad-hoc) และเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจาย

เครือข่ายบล็อกเชนแบบเพียร์ทูเพียร์ไม่มีความอ่อนแอที่ศูนย์กลาง ซึ่งนักเลงคอมพิวเตอร์สามารถถือเอาประโยชน์ได้โดยนัยเดียวกัน เครือข่ายก็ไม่สามารถเกิดความขัดข้องแบบจุดเดียวคือที่ศูนย์ได้วิธีการรักษาความปลอดภัยรวมการใช้การเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร (public-key cryptography)[4]

กุญแจสาธารณะ (public key) ซึ่งเป็นตัวเลขดูสุ่ม ๆ ต่อกันยาวเหยียด จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อรับเงินสำหรับบล็อกเชนคือโทเค็นที่มีมูลค่าและส่งข้ามเครือข่าย จะบันทึกว่ามีที่อยู่นั้นเป็นเจ้าของส่วนกุญแจส่วนตัว (private key) จะเป็นรหัสผ่านที่ให้เจ้าของเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นได้ และทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ตามที่บล็อกเชนนั้นสนับสนุนข้อมูลที่เก็บในบล็อกเชนโดยทั่วไปพิจารณาว่าไม่สามารถเสียได้[1]

แม้การมีข้อมูลรวมศูนย์จะคุมได้ง่ายกว่า แต่การลอบเปลี่ยนแปลงจัดการข้อมูลก็เป็นไปได้ด้วยเพราะไม่รวมศูนย์การเก็บข้อมูลของบัญชีแยกประเภทที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ บล็อกเชนจึงโปร่งใสสำหรับทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง[52]

สถานี (node) ทุกสถานีในระบบไร้ศูนย์ จะมีก๊อปปี้ของบล็อกเชนคุณภาพข้อมูลจึงมาจากการทำซ้ำข้อมูลเป็นจำนวนมาก[10]และการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลโดยการคำนวณดังนั้น จึงไม่มีก๊อปปี้ที่จัดว่า เป็นก๊อปปี้หลักหรือก๊อปปี้ทางการ และไม่มีสถานีไหนที่น่าเชื่อถือกว่าสถานีอื่น[4]

ธุรกรรมทั้งหมดจะแพร่สัญญาณไปยังเครือข่ายโดยจะส่งสัญญาณ/ข้อความแบบพยายามดีที่สุด (Best-effort delivery)[upper-alpha 3]สถานีขุดหาเหรียญ (Mining node) จะเป็นผู้ยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม[37]โดยรวมธุรกรรมหนึ่ง ๆ ลงในบล็อกที่ตนกำลังสร้าง แล้วจะแพร่สัญญาณคือข้อมูลบล็อกที่ทำเสร็จแล้วไปยังสถานีอื่น ๆ[53]

บล็อกเชนมีวิธีลงตราเวลา (timestamping) ต่าง ๆ กัน เช่น proof-of-work[upper-alpha 2] เพื่อจัดลำดับการเปลี่ยนแปลง[54]วิธีการอื่น ๆ ที่สามารถให้ถึงความเห็นพ้องได้รวมทั้ง proof-of-stake[37]

การเติบโตของบล็อกเชนแบบไร้ศูนย์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการรวมศูนย์สถานี เนื่องจากทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เพื่อประมวลข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[55]

ความเปิด

บล็อกเชนที่เปิดเป็นสาธารณะ จะใช้ได้สะดวกกว่าระเบียนความเป็นเจ้าของธรรมดา ซึ่งแม้จะเปิดให้สาธารณชนดูได้ แต่ก็ยังต้องอาศัยสถานที่เพื่อจะดูเพราะบล็อกเชนรุ่นต้น ๆ สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องอนุญาต จึงเกิดข้อถกเถียงถึงนิยามว่าอะไรเป็นบล็อกเชนปัญหาหนึ่งที่ยังไม่ยุติก็คือ ระบบส่วนตัวที่มีผู้พิสูจน์ยืนยันที่ได้อนุญาตหรือมอบหมายจากผู้มีอำนาจศูนย์กลาง ควรจะพิจารณาว่าเป็นบล็อกเชนหรือไม่[56][57][58][59][60]ผู้สนับสนุนการใช้โซ่ส่วนตัวอ้างว่า คำว่า บล็อกเชน อาจหมายถึงโครงสร้างข้อมูลใดก็ได้ที่รวมข้อมูลเข้าเป็นบล็อกที่ตราเวลาบล็อกเชนเช่นนี้สามารถใช้ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลพร้อมกันโดยมีข้อมูลหลายรุ่น (multiversion concurrency control, MVCC) และเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย[61] คือ คล้ายกับที่ MVCC ป้องกันธุรกรรมสองพวกไม่ให้เปลี่ยนเป้าหมายเดียวกันในฐานข้อมูล บล็อกเชนก็ป้องกันธุรกรรมสองพวกไม่ให้ใช้จ่ายทรัพย์สินเดียวกันพร้อมกันภายในบล็อกเชน[62]

ส่วนผู้ต่อต้านอ้างว่า ระบบที่ต้องได้อนุญาตจะเหมือนกับฐานข้อมูลบริษัททั่ว ๆ ไป ไม่สนับสนุนการยืนยันพิสูจน์ข้อมูลโดยไร้ศูนย์ และดังนั้น ระบบเช่นนี้ไม่ได้ป้องกันผู้ดำเนินการจากการลอบเปลี่ยนข้อมูล[56][58]เช่น ผู้สื่อข่าวของนิตยสารคอมพิวเตอร์ Computerworld กล่าวไว้ว่า "การแก้ปัญหาด้วยบล็อกเชนภายในองค์กรจะไม่ใช่อะไรนอกเหนือจากฐานข้อมูลที่ยุ่งยาก"[63]ดังนั้น นักวิเคราะห์ธุรกิจบางท่าน (Don Tapscott และ Alex Tapscott) จึงนิยามบล็อกเชนว่า เป็นบัญชีแยกประเภทหรือฐานข้อมูลแบยกระจายที่เปิดให้เข้าถึงได้ทุกคน[64]

การไม่ต้องได้อนุญาต

ประโยชน์ดียิ่งของเครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิด ไม่ต้องให้อนุญาต หรือเป็นสาธารณะ ก็คือ ไม่จำเป็นต้องป้องกันผู้ปฏิบัติการโดยไม่ชอบ และไม่ต้องควบคุมการเข้าถึง[65]นี่หมายความว่า โปรแกรมสามารถเพิ่มขึ้นภายในเครือข่ายเพื่อใช้บล็อกเชนเป็นชั้นขนส่ง (transport layer) โดยไม่ต้องได้การอนุมัติหรือความเชื่อใจของผู้อื่น[66]บิตคอยน์และเงินคริปโทสกุลอื่น ๆ ปัจจุบันรับประกันบล็อกเชนของตนโดยบังคับให้หน่วยข้อมูลใหม่มีการพิสูจน์ว่าได้ทำงาน[upper-alpha 2]เพื่อหน่วงเวลาการสร้างบล็อกเชน บิตคอยน์ใช้ปัญหา Hashcash ที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 (โดย Adam Back)[67]

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีบริษัทบริการทางการเงินที่ให้ความสำคัญแก่บล็อกเชนแบบกระจายศูนย์[68]โดยปี 2016 การร่วมลงทุน (venture capital) ในโปรเจ็กต์เกี่ยวกับบล็อกเชนได้ลดลงในสหรัฐอเมริกา แต่กำลังเพิ่มขึ้นในจีน[69]บิตคอยน์และเงินคริปโทอื่น ๆ มากมายใช้บล็อกเชนที่เป็นสาธารณะโดยเดือนเมษายน 2018 บิตคอยน์มีมูลค่าตามราคาตลาดมากที่สุด

การต้องได้อนุญาต/บล็อกเชนส่วนตัว

บล็อกเชนที่ต้องได้อนุญาตจะมีชั้นควบคุมการเข้าถึงเพื่อควบคุมว่า ใครสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้[70]ไม่เหมือนกับเครือข่ายบล็อกเชนที่เป็นสาธารณะ ผู้เป็นเจ้าของเครือข่ายจะเป็นผู้เช็คผู้ที่จะยืนยันพิสูจน์ธุรกรรมในเครือข่ายเพราะเครือข่ายจะไม่อาศัยสถานีนิรนามเพื่อยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม และจะไม่ได้ประโยชน์จากการมีสถานีเพิ่มขึ้น (network effect)[71] [ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]บล็อกเชนแบบต้องได้อนุญาตยังมีชื่ออื่น ๆ ว่า consortium blockchain หรือ hybrid blockchain[72]

ข้อเสียของระบบปิด

นักข่าวของนิตยสารคอมพิวเตอร์ Computerworld กล่าวว่า "ไม่จำเป็นต้องมีการกระทำโดยไม่ชอบจากเครือข่าย 51% ในบล็อกเชนส่วนตัว เพราะบล็อกเชนส่วนตัวควบคุมทรัพยากรในการสร้างบล็อกใหม่ 100% อยู่แล้วถ้าคุณทำการไม่ชอบหรือทำอุปกรณ์การสร้างบล็อกเชนให้เสียหายบนเครื่องบริการของบริษัทคุณก็จะสามารถควบคุมเครือข่ายเท่ากับ 100% และสามารถเปลี่ยนธุรกรรมอย่างไรก็ได้ตามปรารถนา"[63]ซึ่งอาจมีผลเสียอย่างหนักในวิกฤตการณ์ทางการเงินหรือวิกฤติการณ์หนี้สิน เช่นใน วิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองได้ตัดสินใจให้ประโยชน์กับคนบางกลุ่มโดยเป็นผลเสียกับกลุ่มอื่น ๆ [ต้องการอ้างอิง]และ "บล็อกเชนของบิตคอยน์ได้การป้องกันจากการพยายามขุดหาเหรียญเป็นกลุ่มอย่างเป็นล่ำเป็นสันมีโอกาสน้อยมากที่บล็อกเชนส่วนตัวจะพยายามป้องกันระเบียนโดยใช้พลังงานคอมพิวเตอร์เป็นกิกะวัตต์ ซึ่งทั้งใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายสูง"[63]

เขายังกล่าวด้วยว่า "ภายในบล็อกเชนส่วนตัว จะไม่มี 'การแข่งขัน'คือไม่มีแรงจูงใจให้ใช้กำลัง/พลังมากกว่าหรือขุดหาบล็อกให้เร็วกว่าคู่แข่งซึ่งก็หมายความว่า การแก้ปัญหาด้วยบล็อกเชนภายในองค์กรจะไม่ใช่อะไรนอกเหนือจากเป็นฐานข้อมูลที่ยุ่งยาก"[63]

ข้อมูลที่อธิบายตนเอง

การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนร่วมของบล็อกเชน อาจเป็นความท้าทายทางเทคนิคที่ขวางการยอมรับและการใช้บล็อกเชนซึ่งยังไม่เป็นปัญหาเพราะผู้มีส่วนร่วมใช้บล็อกเชนจนถึงปัจจุบันได้ตกลง (ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยปริยาย) ใช้มาตรฐานข้อมูลอภิพันธุ์ (metadata standard) เดียวกัน การมีข้อมูลอภิพันธุ์มาตรฐาน จะเป็นวิธีที่ดีสุดสำหรับบล็อกเชนแบบต้องได้อนุญาต เช่น การจ่ายและการค้าขายทรัพย์สินที่มีจำนวนธุรกรรมสูงและมีผู้มีส่วนร่วมไม่กี่พวกเพราะมาตรฐานเช่นนี้จะลดค่าใช้จ่ายการดำเนินนงาน เพราะไม่ต้องแปลข้อมูลอย่างยุ่งยากระหว่างผู้มีส่วนร่วม

อย่างไรก็ดี ผู้ชำนาญการได้ชี้ว่า บล็อกเชนเพื่อการค้าที่มีจุดประสงค์ทั่วไป จะต้องมีระบบข้อมูลที่อธิบายตนเอง (self-describing data) เพื่อให้สถานีแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเองได้อย่างอัตโนมัติ[73]ระบบข้อมูลที่อธิบายตนเอง จะช่วยให้ระบบต่างหาก ๆ สามารถประมวลข้อมูลทั้งสองด้านในธุรกรรมได้ง่าย และสนับสนุนบล็อกเชนที่มีลักษณะไร้ศูนย์และเปิดตามผู้ชำนาญการผู้นี้ โดยใช้ universal data interchange ข้อมูลที่อธิบายตนเองสามารถเพิ่มจำนวนผู้มีส่วนร่วมในบล็อกเชนเพื่อการค้าที่ต้องได้อนุญาต โดยไม่จำเป็นต้องมีบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนน้อยเป็นผู้ควบคุม[73]

ยกตัวอย่างเช่น มันจะโปรโหมตระบบเปิด โดยไม่ต้องใช้บริการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic data interchange, EDI) ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งก็คือ ไม่จำเป็นต้องแปลข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ให้เข้ากับแบบจำลองข้อมูลของผู้ให้บริการ EDIข้อมูลที่อธิบายตนเองยังอำนวยการรวมข้อมูลระหว่างบล็อกเชนต่าง ๆยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมข้อมูลจากบล็อกเชนที่ติดตามการส่งยากับบล็อกเชนที่แสดงประวัติคนไข้ จะช่วยให้โรงพยาบาลหรือแพทย์ยืนยันได้ว่า ใบสั่งยามีผลให้คนไข้ได้ยาที่ถูกต้อง[74]

แผนภาพแสดงข้อมูลธุรกรรมเพื่อโอนบิตคอยน์ในระหว่างบัญชีต่าง ๆ (ภาพดัดแปลงจากเอกสารดั้งเดิมของนากาโมโตะ)[75](แถวแรก) แสดงกุญแจสาธารณะของเจ้าของบิตคอยน์ปัจจุบัน(แถวสาม) แสดงข้อความที่เข้ารหัสด้วยกุญแจส่วนตัวของเจ้าของคนก่อนเป็นการยืนยันว่าได้โอนสินทรัพย์ให้เจ้าของปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: บล็อกเชน http://www.computerworld.com.au/article/606253/und... http://www.afr.com/technology/anz-backs-private-bl... http://www.americanbanker.com/bankthink/why-the-bi... http://www.bbc.com/news/technology-41858585 http://www.bbc.com/news/technology-42237162 http://www.businessinsider.com/mastercard-pushes-a... http://www.coindesk.com/abn-amro-blockchain-real-e... http://www.coindesk.com/blockchain-finance-buzzwor... http://www.coindesk.com/estonia-president-world-ec... http://www.coindesk.com/ethereums-new-blockchain-c...